ค้นเจอ 18 รายการ

ยกทรง

หมายถึงน. เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมเพื่อให้ได้รูปทรง.

รูปทรง

หมายถึงน. ทรวดทรง สัณฐาน ประกอบด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น เรือลำนี้รูปทรงเพรียว; (ศิลปะ) สิ่งที่เห็นเป็นกลุ่มก้อนหรือเห็นแต่ ๒ ด้านขึ้นไป มีลักษณะจำกัดด้วยความกว้าง หนาหรือลึก และสูง เช่น รูปทรงพีระมิด.

เข้าทรง

หมายถึงก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.

ทรวดทรง

หมายถึง[ซวดซง] น. รูปร่าง, สัณฐาน, (โบ) ซวดทรง.

พระภูษาชุบทรง

หมายถึงผ้าอาบน้ำ

นาเชิงทรง

หมายถึงน. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.

คนทรง

หมายถึงน. คนทรงเจ้าและผี.

น้ำทรง

หมายถึงน. นํ้าที่หยุดไหลชั่วขณะ, นํ้าที่คั่งค้างอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งรับนํ้า, นํ้ากำลังจะเปลี่ยนระดับจากนํ้าขึ้นเต็มที่มาเป็นนํ้าลง หรือจากนํ้าลงเต็มที่มาเป็นนํ้าขึ้น, ช่วงนํ้าหยุดไหลในทะเลและแม่นํ้าลำคลองอาจมีระยะเวลาตั้งแต่ ๕ นาที หรือ นานถึง ๒ ชั่วโมง ก็ได้ แล้วแต่ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่ ความลาดชันของขอบฝั่งและลำนํ้า.

กระเป๋าทรง

หมายถึงกระเป๋าถือ

ผมรองทรง

หมายถึงน. ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้น ข้างบนยาว.

เชิงทรง

หมายถึงน. เรียกนาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีกว่า นาเชิงทรง, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.

ทรง

หมายถึง[ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จำ เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคำที่ตามหลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคำ เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นำหน้าคำกริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นำหน้าคำนามราชาศัพท์ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชาสามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้วไม่นิยมใช้คำว่า ทรง นำหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวางแล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.

 คำราชาศัพท์ จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ