ค้นเจอ 238 รายการ

ตีวัวกระทบคราด

หมายถึงการเสแสร้งแกล้งพูดหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้ไปกระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากโกรธเขาแต่ไปทำอะไรเขาโดยตรงไม่ได้

ยกตนข่มท่าน

หมายถึงยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น,พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า

ดาบสองคม

หมายถึงการกระทำที่อาจเกิดผลดีและผลร้ายได้พอๆกัน เปรียบได้กับดาบ ถ้าดาบนั้นมีคมทั้งสองข้าง มันก็ดีใช้ฟันได้สะดวก ขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าดาบมีคมทั้งสองข้าง เมื่อเราใช้ดาบฟันไปข้างหนึ่ง คมอีกข้างหนึ่ง ก็อาจทำร้ายถูกตัวเราได้

ฟาดเคราะห์

หมายถึงทำพิธีปัดสิ่งชั่วร้ายให้ไปจากตัว, สละสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เคราะห์สูญหายไป; ตัดใจยอมเสียสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปเพื่อให้หมดเคราะห์ หรือตัดใจคิดว่าสิ่งที่เสียไปแล้วเป็นการทำให้หมดเคราะห์ ในความเช่น นึกว่าฟาดเคราะห์

ภาวนากันตาย

หมายถึงทำบุญเพื่ออวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วยใจบริสุทธิ์, มักพูดเข้าคู่กับ ภาวนากันตาย

ใช้แมวเฝ้าปลาย่าง

หมายถึงคนที่ทำผิดพลาดโดยการฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอาไว้กับผู้ที่ต้องการของสิ่งนั้นอยู่แล้ว ทำให้ต้องสูญเสียของสิ่งนั้นไปโดยไม่รู้ตัว

สัตว์

ไว้เนื้อเชื่อใจ

หมายถึงที่ไว้วางใจได้, ที่เชื่อใจได้, เช่น มีอะไรก็พูดกับเขาเถอะ เขาเป็นคนไว้เนื้อเชื่อใจได้. ก. ไว้วางใจ, เชื่อใจ, เช่น ไว้เนื้อเชื่อใจให้ทำธุระสำคัญ ๆ

ยืนกระต่ายขาเดียว

หมายถึงการพูดยืนยันคำเดียวไม่แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปเช่นเขาไม่ได้ลักเงินไปจริงๆถามเขาตั้งร้อยครั้งเขาก็ยืนยันว่าไม่ได้อาไปจริง

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

หมายถึงคนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง”

ขนทรายเข้าวัด

หมายถึงการทำประโยชน์ให้ส่วนรวมโดยการกระทำอย่างไรอย่างหนึ่งแม้ไปกระทบกระเทือนให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ก็ถือว่ายกให้กับส่วนรวมไม่ต้องมีอะไรมาชดเชยก็ได้

ได้น้ำได้เนื้อ

หมายถึงได้อะไรที่เป็นประโยชน์ ได้อะไรที่ดี ๆ มีสาระ ครบถ้วน ใช้บอกในหลายเหตุการณ์ เช่น การฟัง การพูด การทำงาน ค้าขาย กำไร เป็นต้น

ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ

หมายถึงคนพูดดีด้วยแต่ในใจไม่บริสุทธิ มุ่งคิดร้ายอาฆาตผู้อื่นตลอดเวลา

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ