ค้นเจอ 206 รายการ

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

หมายถึงแม้จะมีความรู้สูงแค่ไหนก็ตาม ถ้าความประพฤติไม่ดีแล้วก็เอาตัวไม่รอด เพราะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย หรือมีความรู้ แต่ไม่ใช้ความรู้ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน

หมายถึงถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อยๆ ทำให้ดีขึ้นแม้เล็กน้อยๆ เมื่อรวมกันและใช้เวลาก็จะทำให้การงานนั้นเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้

ดินพอกหางหมู

หมายถึงนิสัยที่ชอบปล่อยให้การงานคั่งค้างสะสม ผัดวันประกันพรุ่ง เกียจคร้าน ไม่ยอมทำให้สิ่งนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว จนในที่สุดการงานต่างก็สะสมพอกพูนขึ้นจนยากที่จะสะสางให้เสร็จได้โดยง่าย

ตีงูให้กากิน

หมายถึงลงทุนลงแรงทำสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ตนมีแต่จะเป็นโทษแล้วยังกลับไปเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นอีกเช่นตีงูให้ตายแต่ไม่ได้นำงูมาเป็นอาหารกลับโยนงูให้กากิน

ไม่ดูดำดูดี

หมายถึงเอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดีเด็กคนนี้เลย.

จมูกมด

หมายถึงรู้ทันเหตุการณ์ผู้หญิงคนนั้นเป็นคนจมูกมด มักจะรู้เรื่องราวทุกอย่างในหมู่บ้านตลอดเวลา รู้อะไรไปหมด รู้ก่อนคนอื่นตลอด

เดือนยังกะจับมด

หมายถึงสว่างไสวเต็มที่ จ้าไปด้วยความสว่าง เหมือนเดือน(ดวงจันทร์) ที่ส่องสว่างเต็มที่จนสามารถมองเห็นหรือจับมดตัวเล็ก ๆ ในเวลากลางคืนได้

ตื่นก่อนนอนหลัง

หมายถึงเป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี

ตื่นก่อนนอนทีหลัง

หมายถึงเป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี

ตักบาตรถามพระ

หมายถึงจะให้อะไรสักอย่างหนึ่งแก่ผู้อื่นในเมื่อผู้นั้นเต็มใจรับอยู่แล้วไม่ต้องถามว่าจะเอาหรือไม่เอาเมื่อจะให้ก็ให้ทีเดียวเหมือนกับถวายอาหารพระพระท่านจะรับของทุกอย่างไม่มีการปฏิเสธ

คลุกคลีตีโมง

หมายถึงมั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คำนี้โบราณท่านเปรียบไว้ด้วยคำที่มีความหมายบ่งบอกที่ค่อนข้างชัดเจน คือคำว่าคลุกคลีนั่นเอง

ซื่อเหมือนแมวนอนหวด

หมายถึงเชื่อง ไม่มีพิษมีภัย แต่ความจริงแล้วกลับซ่อนความร้ายกาจ ความเจ้าเล่ห์ เอาไว้ภายใน โดยโบราณท่านเปรียบไว้เหมือนแมวเชื่องๆตัวหนึ่ง แต่ถึงเวลาที่ตื่นตัวกลับปราดเปรียวและมีพิษสงร้ายกาจ

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ