ค้นเจอ 261 รายการ

หงิมๆ หยิบชิ้นปลามัน

หมายถึงบุคลิกลักษณะเรียบร้อย แต่ความจริงฉลาด เลือกเอาดี ๆ ไปได้

จับปลาสองมือ

หมายถึงหมายจะเอาให้ได้ทั้ง2อย่าง,เสี่ยงทำการพร้อมๆกันซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง2อย่าง

เป็นฟืนเป็นไฟ

หมายถึงรุนแรง, เต็มที่, (ใช้แก่กริยาโกรธ) เช่น โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

หมายถึงแม้จะมีความรู้สูงแค่ไหนก็ตาม ถ้าความประพฤติไม่ดีแล้วก็เอาตัวไม่รอด เพราะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย หรือมีความรู้ แต่ไม่ใช้ความรู้ก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร

อย่าเอาจมูกคนอื่นหายใจ

หมายถึงต้องรู้จักช่วยตัวเอง อย่าคิดแต่จะพึงพาอาศัยคนอื่นเสมอไป ถ้าเราทำอะไรได้เองก็สะดวก แต่ถ้าต้องคอยอาศัยคนอื่นเขาร่ำไป ย่อมไม่ได้รับความสะดวก เหมือนคนมีรถยนต์แล้วขับไม่เป็น จะไปไหนทีก็ต้องพึ่งคนขับอยู่เรื่อย ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยเราก็ไปไม่ได้

หมูเขาจะหามเอาคานเข้าไปสอด

หมายถึงเข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ กิจกรรม หรือการกระทำของผู้อืน ซึ่งเขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ

หมายถึงไม่ช่วยทำงานแล้วเกะกะขัดขวางทำให้งานเดินไปไม่สะดวกเหมือนกับคนที่นั่งไปในเรือไม่ช่วยทำงานแต่ยังไปเอาเท้าไปราน้ำให้เรือแล่นช้า

ยานพาหนะ

เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง

หมายถึงคัดค้านผู้มีอำนาจ ฐานะสูงกว่า หรือผู้ใหญ่กว่า มักจะล้มเหลว

ขวานฝ่าซาก

หมายถึงผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)

เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักจนตาย

หมายถึงผู้หญิงที่จะผูกมัดจิตใจสามีได้ ไม่ใช่เพียงเพราะความสวยอย่างเดียว เพราะความสวยงามเป็นของไม่จีรังยั่งยืนอะไร แต่ความดีโดยเฉพาะฝีมือในการปรุงอาหาร ถ้าหากสามารถทำให้ถูกปากสามีได้ ย่อมผูกใจสามีให้รักไปจนตาย

ตื่นแต่ดึก สึกแต่หนุ่ม

หมายถึงการจะทำอะไรให้รีบทำในช่วงจังหวะที่ยังเหมาะสมแก่วัยและเวลา

บุญมา ปัญญาช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก

หมายถึงในเวลาที่มีบุญวาสนา สติปัญญาก็ปลอดโปร่ง กำลังใจดี แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะหายวันหายคืน เพราะเขาหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากผู้มีวาสนานั้น และจะมีภาษิตต่อท้ายอีกว่า “บุญไม่มา ปัญญาไม่ช่วย ที่ป่วยก็หนัก ที่รักก็หน่าย” ซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ