ค้นเจอ 44 รายการ

เล่นกับสากสากต่อยหัว

หมายถึงถ้าลดตัวไปเล่นหัวกับคนชั้นต่ำกว่า เขาก็อาจตีเสมอทำลวนลามเอา สากในที่นี้หมายถึงสากตำข้าวที่เขาพิงไว้ ถ้าใครซุกซนไปจับต้องเข้า สากอาจเลื่อนล้มทับถูกหัวถูกหูก็ได้

เล่นกับหมา หมาเลียปาก เล่นกับสาก สากต่อยหัว

หมายถึงถ้าลดตัวไปเล่นหัวกับคนชั้นต่ำกว่า เขาก็อาจตีเสมอทำลวนลามเอา สากในที่นี้หมายถึงสากตำข้าวที่เขาพิงไว้ ถ้าใครซุกซนไปจับต้องเข้า สากอาจเลื่อนล้มทับถูกหัวถูกหูก็ได้

ตาร้อน

หมายถึงเป็นอาการของคนที่มีความรู้สึกอิจฉาผู้อื่นในเรื่องต่าง ๆ ที่เหนือกว่าตน หรือเห็นคนอื่นได้ดี ใช้ในทางไม่ดีก็ได้แต่บางบริบทนั้นก็นิยมเอามาพูดเล่น ๆ แซวกัน ขำขำ ในวงคนรู้จักกันก็มีให้เห็นโดยทั่วไป

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

หมายถึงการศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้

อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย

หมายถึงคนที่เป็นผู้นำหรือผู้ปกครองอย่าหลงลืมตน ควรก้มมองดูลูกน้องหรือคนที่ต่ำต้อยกว่าว่าเขาเป็นอย่างไร เอาใจใส่ดูแล ฟังเสียงเขาบ้าง ส่วนคนที่เป็นลูกน้องก็สมควรทำหน้าที่ให้เรียบร้อยไม่ให้มีข้อบกพร่อง ดูแบบอย่างจากเจ้านายเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง

หาเศษหาเลย

หมายถึงหาประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ เบียดบังเอาส่วนที่เหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ไว้ เช่น แม่ครัวมักหาเศษหาเลยจากเงินที่นายมอบให้ไปจ่ายตลาด บางทีก็ใช้ในทางชู้สาว เช่น ทั้ง ๆ ที่แต่งงานแล้ว เขาก็ยังไปหาเศษหาเลยนอกบ้านอีก

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

หมายถึงคนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง”

ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี ชั่วดีเป็นตรา

หมายถึงสมัยก่อนการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านยังไม่แพร่หลาย คนที่รู้หนังสือมีน้อย บางคนก็ได้ดีเพราะปาก การคิดเลขหรือการคำนวณนั้นมีความสำคัญน้อยลงมาอีก แม้เดี๋ยวนี้คนที่มีความรู้ดีแต่พูดไม่เก่ง ก็เอาดีได้ยาก ส่วนความชั่วความดีนี้ ทำลงไปแล้วย่อมเป็นเสมือนตราที่ประทับลงไปให้รู้ว่าคนนั้นเป็นคนดี หรือคนชั่ว

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ