ค้นเจอ 72 รายการ

จำศีลเอาหน้า ภาวนาโกหก

หมายถึงแสร้งทำเป็นว่าถือศีลเคร่งครัด ชอบเจริญภาวนาเข้ากรรมฐาน ที่ลวงให้คนอื่นเข้าใจว่าตนเป็นมีศีลมีธรรม เขาจะได้เชื่อถือไว้วางใจ

อย่าฟื้นฝอยหาตะเข็บ

หมายถึงอย่ารื้อเอาเรื่องเก่าๆ ที่ล่วงเลยไปแล้วขึ้นมาพูดให้สะเทือนใจกัน ฝอย ในที่นี้หมายถึง มูลฝอย กุมฝอย ตะเข็บ คล้ายตะขาบ แต่ตัวเล็กกว่ามาก ชอบอยู่ตามกุมฝอย

คลื่นใต้น้ำ

หมายถึงเหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเหมือนสงบเรียบร้อยหรือพวกคลื่นใต้น้ำชอบก่อหวอดก่อเหตุการณ์วุ่นวาย ภายในคอยแซะอย่างลับหลัง

ชี้โพรงให้กระรอก

หมายถึงผู้ที่ชอบทำอะไรก็ตามเป็นนิสัยเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีคนมาบอกกล่าวก็จะลงมือทำทันที เช่น เป็นคนชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยวก็จะไป หรือผู้มีนิสัยเป็นคนขี้ลักขี้ขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าไปขโมยหรือลักทรัพย์ในบ้านนั้น เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้

ชี้โพรงให้กระรอก

หมายถึงผู้ที่ชอบทำอะไรก็ตามเป็นนิสัยเดิมอยู่แล้ว เมื่อมีคนมาบอกกล่าวก็จะลงมือทำทันที เช่น เป็นคนชอบเที่ยวถ้ามีผู้บอกว่าที่นั่นที่นี่น่าเที่ยวก็จะไป หรือผู้มีนิสัยเป็นคนขี้ลักขี้ขโมยถ้ามีผู้บอกว่า บ้านนั้นบ้านนี้มีทรัพย์สินเงินทองมาก ก็จะหาทางเข้าไปขโมยหรือลักทรัพย์ในบ้านนั้น เช่นนี้ เรียกว่า ชี้โพรงให้

สวมหัวโขน

หมายถึงเอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดงอำนาจ

กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา

หมายถึงคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน

ทำดีแต่อย่าเด่น

หมายถึงหากกระทำการใดให้เด่นดังหรือกลายเป็นที่สนใจของประชาคม จักเป็นการนำโชคร้ายมาสู่ตนเพราะมนุษย์มักอิจฉาริษยาหรือไม่ชอบเห็นคนอื่นเด่นเกินตน

ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว

หมายถึงทำทุกข์ให้แก่ผู้ใด เคราะห์กรรมที่ทำกับเขา อาจตกตามมาถึงตัวเองบ้าง อย่างบางคนชอบล่าสัตว์ บางทีไปยิงลูกของตน โดยเข้าใจว่าเป็นสัตว์ป่าก็มี

ดินพอกหางหมู

หมายถึงนิสัยที่ชอบปล่อยให้การงานคั่งค้างสะสม ผัดวันประกันพรุ่ง เกียจคร้าน ไม่ยอมทำให้สิ่งนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นโดยเร็ว จนในที่สุดการงานต่างก็สะสมพอกพูนขึ้นจนยากที่จะสะสางให้เสร็จได้โดยง่าย

ศรศิลป์ไม่กินกัน

หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.

วัวพันหลัก

หมายถึงอาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ