ค้นเจอ 165 รายการ

ปัดสวะ

หมายถึง[-สะหฺวะ] ก. ทำอย่างขอไปที, ผลักให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบของตนไป.

งอมพระราม

หมายถึงมีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ ถูกกระทำอย่างหนักหน่วง เช่น เจ้าของโครงการคอนโดนี้วางแผนสร้างคอนโดที่ทันสมัยที่สุด หรูที่สุด ซึ่งใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากทำให้หมุนเงินไม่ทันสุดท้ายผู้รับเหมาแต่ละรายก็เลยงอมพระรามไปตาม ๆ กัน

ดาบสองคม

หมายถึงการกระทำที่อาจเกิดผลดีและผลร้ายได้พอๆกัน เปรียบได้กับดาบ ถ้าดาบนั้นมีคมทั้งสองข้าง มันก็ดีใช้ฟันได้สะดวก ขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าดาบมีคมทั้งสองข้าง เมื่อเราใช้ดาบฟันไปข้างหนึ่ง คมอีกข้างหนึ่ง ก็อาจทำร้ายถูกตัวเราได้

ไม่ได้สิบ

หมายถึง(กลอน) ก. งงจนคิดอะไรไม่ออกหรือทำอะไรไม่ถูก เช่น ท้าวสามนต์เสียใจไม่ได้สิบ. (สังข์ทอง)

ดูช้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน

หมายถึงหน้าหนาวช้างจะตกมัน ตอนนี้แหละเราจะเห็นลักษณะท่าทางของช้างว่ามีความห้าวหาญดุดันอย่างไร หน้าร้อนอากาศอ้าว ผู้หญิงก็ใช้ผ้าน้อยชิ้น หรือผ้าบางๆ ทำให้มองเห็นรูปร่างทรวดทรงและผิวพรรณของผู้หญิงว่าสวยงามแค่ไหนเพียงใด

อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน

หมายถึงหลีกเลี่ยงกระทำสัญญาหรือค้ำประกันให้คนอื่น เพราะอาจจะได้รับความเดือดร้อน

อยากเป็นหนี้ให้เป็นนายหน้า

หมายถึงหลีกเลี่ยงกระทำสัญญาหรือค้ำประกันให้คนอื่น เพราะอาจจะได้รับความเดือดร้อน

ศรศิลป์ไม่กินกัน

หมายถึง(กลอน) ก. ทำอันตรายกันไม่ได้ เช่น ถ้อยทีศรศิลป์ไม่กินกัน. (รามเกียรติ์ ร. ๖); ไม่ถูกกัน, ไม่ลงรอยกัน, ไม่ชอบหน้ากัน, เช่น พี่น้องคู่นี้ศรศิลป์ไม่กินกัน เจอหน้ากันเมื่อใดต้องทะเลาะกันเมื่อนั้น.

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา

หมายถึงการจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ