ค้นเจอ 105 รายการ

พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง

หมายถึงคำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉย ๆ ไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า

อยู่สูงให้นอนคว่ำ อยู่ต่ำให้นอนหงาย

หมายถึงคนที่เป็นผู้นำหรือผู้ปกครองอย่าหลงลืมตน ควรก้มมองดูลูกน้องหรือคนที่ต่ำต้อยกว่าว่าเขาเป็นอย่างไร เอาใจใส่ดูแล ฟังเสียงเขาบ้าง ส่วนคนที่เป็นลูกน้องก็สมควรทำหน้าที่ให้เรียบร้อยไม่ให้มีข้อบกพร่อง ดูแบบอย่างจากเจ้านายเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง

วัวแก่อยากกินหญ้าอ่อน

หมายถึงชายแก่ที่มีเมียสาวคราวลูกหลานมักใช้เป็นคำเปรียบเปรยเมื่อเห็นคนที่มีอายุมากไปจีบเด็กรุ่นลูกหลานหวังจะได้มาเป็นเมีย

กระต่ายหมายจันทร์

หมายถึงการที่ผู้ชายฐานะยากจนกว่าฝ่ายหญิงแต่ไปหลงรักหมายปองชอบผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า โอกาสที่จะสมหวังได้นั้นคงค่อนข้างยากเพราะพ่อแม่ของฝ่ายหญิงคงไม่ชอบและคงต้องคอยกีดกัน เปรียบเทียบผู้ชายเป็นเหมือนกระต่ายที่เฝ้ามองดวงจันทร์ที่ลอยสูงเด่นอยู่เหนือท้องฟ้าในยามค่ำคืน ทำอย่างไรก็ไม่มีทางและโอกาสที่จะไปสัมผัสกับดวงจันทร์ได้

ลอยลม

หมายถึงทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

อยากเป็นหนี้ให้เป็นนายหน้า

หมายถึงหลีกเลี่ยงกระทำสัญญาหรือค้ำประกันให้คนอื่น เพราะอาจจะได้รับความเดือดร้อน

อยากเป็นขี้ข้าให้เป็นนายประกัน

หมายถึงหลีกเลี่ยงกระทำสัญญาหรือค้ำประกันให้คนอื่น เพราะอาจจะได้รับความเดือดร้อน

ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก

หมายถึงสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะรู้ตื้นหนาบางของเราเป็นอย่างดี

กงกำกงเกวียน

หมายถึงการกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ