ค้นเจอ 103 รายการ

สี่เท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

หมายถึงคนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้

สอนเด็ก สอนง่าย สอนผู้ใหญ่ สอนยาก

หมายถึงจะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

หมายถึงจะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก

สองหน้า

หมายถึงชื่อกลองชนิดหนึ่ง รูปคล้ายเปิงมางแต่ใหญ่กว่า ใช้ตีทั้ง ๒ ข้าง. ว. ที่ทำตัวให้ทั้ง ๒ ฝ่ายต่างเข้าใจผิดกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตน เช่น เขาเป็นคนสองหน้า อย่าไว้ใจเขานักนะ.

ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา

หมายถึงการจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว

พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง

หมายถึงคำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉย ๆ ไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า

วัวสันหลังขาด เห็นกาบินผาดก็ตกใจ

หมายถึงคนที่มีความผิดติดตัว มักจะมีพิรุธ มีอาการหวาดระแวงอยู่เสมอ กลัวคนอื่นจะรู้ เหมือนวัวสันหลังหวะเป็นแผล พอเห็นกาบินมาก็หวาดกลัว เกรงว่ากาจะโฉบลงมาจิกที่แผลนั้น บางทีก็พูดว่า “วัวสันหลังหวะ”

วัวแก่อยากกินหญ้าอ่อน

หมายถึงชายแก่ที่มีเมียสาวคราวลูกหลานมักใช้เป็นคำเปรียบเปรยเมื่อเห็นคนที่มีอายุมากไปจีบเด็กรุ่นลูกหลานหวังจะได้มาเป็นเมีย

กงเกวียนกำเกวียน

หมายถึงเวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่นทำแกเขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกงกำกงเกวียน

กงเกวียนกำเกวียน

หมายถึงการกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง

สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง

หมายถึงคนเราแม้จะมีความรู้สูงอย่างนักปราชญ์ ก็อาจผิดพลาดได้เหมือนกัน ทุกคนจึงไม่ควรประมาท แม้สัตว์สี่เท้าเช่น วัวควายซึ่งมีสี่เท้าก็ยังอาจก้าวพลาดถึงล้มลงได้ ภาษิตนี้บางทีก็มีพูดต่อไปอีกว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงบ้าง”

ไฟในอย่านำออก ไฟนอกอย่านำเข้า

หมายถึงเรื่องราวไม่ดีภายในครอบครัว / องค์กร / หน่วยงาน ไม่ควรนำไปเล่าให้คนภายนอกฟัง และเรื่องราวไม่ดี คำนินทาว่าร้ายที่คนภายนอกพูดถึงคนภายในก็ไม่ควรนำมาเล่าให้ฟัง

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ