ค้นเจอ 64 รายการ

ตื่นก่อนนอนหลัง

หมายถึงเป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี

ตื่นก่อนนอนทีหลัง

หมายถึงเป็นสำนวน สุภาษิตสอนหญิง ให้มีค่านิยม ตื่นนอนก่อนสามี แต่เข้านอนทีหลังสามี เพื่อใช้เวลาทำงานบ้านงานเรือน ปรนนิบัติสามี

คลุกคลีตีโมง

หมายถึงมั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คำนี้โบราณท่านเปรียบไว้ด้วยคำที่มีความหมายบ่งบอกที่ค่อนข้างชัดเจน คือคำว่าคลุกคลีนั่นเอง

ตาเป็นสับปะรด

หมายถึงคนที่หูตากว้างไกล ในที่นี้จะเน้นว่ามีพรรคพวกมาก ใครทำอะไร ที่ไหน จะรู้ไปหมด โดยรู้จากพรรคพวกเพื่อนฝูงหรือบริวารที่มีอยู่ทั่วไปเป็นคนส่งข่าวให้ โดยที่สำนวนตาเป็นสับปะรดนี้เกิดจากการเปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้ข่าวสาร เรื่องราว ของบุคคลกับตาของสับปะรดซึ่งมีอยู่รอบลูก

ซื่อเหมือนแมวนอนหวด

หมายถึงเชื่อง ไม่มีพิษมีภัย แต่ความจริงแล้วกลับซ่อนความร้ายกาจ ความเจ้าเล่ห์ เอาไว้ภายใน โดยโบราณท่านเปรียบไว้เหมือนแมวเชื่องๆตัวหนึ่ง แต่ถึงเวลาที่ตื่นตัวกลับปราดเปรียวและมีพิษสงร้ายกาจ

จับปลาสองมือ

หมายถึงการที่คน ๆ หนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อม ๆ กัน ทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น สำนวนนี้นิยมใช้กับผู้ชายที่เกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน ซึ่งผลสุดท้ายแล้วผู้ชายคนนั้นจะมีปัญหาตามมา

เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

หมายถึงเวลาจะต้องเสียงเพียงเล็กน้อย ไม่อยากจะเสีย แต่พอถึงคราวต้องเสียมาก ๆ รับควักเงินให้ทันที อย่างข้าวของที่ชำรุดไปเล็กน้อย แทนที่จะรีบซ่อมแซมเสีย กลับปล่อยให้เสียมาก แล้วจึงซ่อมแซม ซึ่งต้องหมดเงินมากกว่าหลายเท่า

บุญมา ปัญญาช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก

หมายถึงในเวลาที่มีบุญวาสนา สติปัญญาก็ปลอดโปร่ง กำลังใจดี แม้จะเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จะหายวันหายคืน เพราะเขาหวังว่าจะได้รับประโยชน์จากผู้มีวาสนานั้น และจะมีภาษิตต่อท้ายอีกว่า “บุญไม่มา ปัญญาไม่ช่วย ที่ป่วยก็หนัก ที่รักก็หน่าย” ซึ่งมีนัยตรงข้ามกัน

ล้มลุกคลุกคลาน

หมายถึงหกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนีฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุกคลุกคลาน, โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุกคลุกคลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.

ลอยลม

หมายถึงทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

หมายถึงการศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้

ลูกรักอยู่หลังลูกชังอยู่หน้า

หมายถึงรักลูกไม่เท่ากัน

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ