ค้นเจอ 232 รายการ

วัวพันหลัก

หมายถึงอาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อนั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใดคนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคนนั้นเป็นสามี.

คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา

หมายถึงผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้สูงอายุนับว่าเป็นผู้ผ่านโลกมาก่อน ย่อมมีประสบการณ์มาก จะทำสิ่งใดจึงควรขอคำแนะนำ

ต้นร้าย ปลายดี

หมายถึงตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสำนึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง โบราณท่านจึงกล่าวไว้ว่า ต้นร้าย แต่ ปลายดี

ตามใจปากจะลำบากท้อง

หมายถึงเห็นแก่กินมักจะเดือดร้อน กินอะไรหรือทำอะไรตามใจตัวเอง อาจทำให้ลำบากในภายหลังได้

ขนทรายเข้าวัด

หมายถึงทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม

งูจงอางหวงไข่

หมายถึงรักหวง ปกป้องลูกของตัวเองถึงที่สุด ไม่ยอมให้ใครมาทำร้ายได้ง่าย ๆ

ไฟสุมขอน

หมายถึงไฟที่คุกรุ่นอยู่ในขอนไม้ขนาดใหญ่ ดับยาก, โดยปริยายหมายถึงอารมณ์รัก โกรธ หรือแค้นเป็นต้นที่ร้อนรุ่มอยู่ในใจ

มือถือสาก ปากถือศีล

หมายถึงชอบแสดงตัวตนว่าเป็นคนมีศีล มีธรรม แต่ทำความเลวเป็นนิจ

ความรักไม่มีพรมแดน

หมายถึงหากเป็นเนื้อคู่กัน จะอยู่ไกลคนละฟากฟ้า ก็หาทางมารักกัน ชอบพอกัน ได้เสมอ เปรียบดังไร้พรมแดนใด ๆ มาขวางกั้นความรักได้

อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

หมายถึงบางทีก็พูดว่า “อย่าชักเรือเข้าลึก” หมายความว่า อย่าทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว

หมาขี้ไม่มีใครยกหาง

หมายถึงคำค่อนว่าคนที่ชอบคุยโม้โอ้อวด หรือยกตัวเองเหนือผู้อื่น

เห็นช้างเท่าหมู

หมายถึงไม่กลัวฝ่ายตรงข้ามแม้จะตัวใหญ่กว่า หรือมีอำนาจกว่า เพราะกำลังโกรธจัดจนลืมตัว

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ