ค้นเจอ 195 รายการ

ชิงสุกก่อนห่าม

หมายถึงทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือยังไม่ถึงเวลา (มักหมายถึงการลักลอบได้เสียกันก่อนแต่งงาน)

ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

หมายถึงมีความสำนึกในความดีของสิ่งหรือบุคคลที่มีพระคุณต่อเรา กตเวที แปลว่า การตอบแทนต่อสิ่งหรือบุคคลที่มีพระคุณต่อเรา คนที่มีคุณสมบัตินี้ จะทำให้ตนเองและครอบครัวพบแต่ความเจริญรุ่งเรือง พบแต่ความสำเร็จ คุณสมบัตินี้ถือว่าเป็นทรัพย์อันประเสริฐในตัวบุคคล

มีเงินมีทองเจรจาได้ มีไม้มีไร่ปลูกเรือนงาม

หมายถึงถ้ามีเงินมีทองแล้วจะพูดอะไรก็มักจะสำเร็จ ถ้ามีไม้มีที่แล้ว ก็ย่อมปลูกเรือนได้สวยงาม

ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด

หมายถึงฟังไม่ได้ความแจ่มชัดแล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ

จุดไต้ตำตอ

หมายถึงพูด/ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเอาเจ้าของเรื่องเข้ามายุ่งเกี่ยวอย่างไม่รู้ตัว

รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

หมายถึงการศึกษาหาความรู้ไว้ ยิ่งมากยิ่งดี เพราะการมีความรู้มาก ไม่เหมือนการแบกข้าวแบกของ ซึ่งจะรู้สึกว่าหนักบ่า มีความรู้มิได้หนักบ่าหนักแรงอะไร ความรู้ที่เวลานี้เราคิดว่าไม่มีประโยชน์ วันหน้าอาจเห็นคุณค่าของมันก็ได้

อย่าชักน้ำเข้าลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน

หมายถึงบางทีก็พูดว่า “อย่าชักเรือเข้าลึก” หมายความว่า อย่าทำอะไรที่เป็นเหตุให้อันตรายมาถึงตัว

ตีวัวกระทบคราด

หมายถึงการเสแสร้งแกล้งพูดหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้ไปกระทบกระเทือนอีกฝ่ายหนึ่ง เนื่องจากโกรธเขาแต่ไปทำอะไรเขาโดยตรงไม่ได้

ยกตนข่มท่าน

หมายถึงยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น,พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า

เล่นเพลงยาว

หมายถึงลอบมีจดหมายรักต่อกัน เช่น ไม่อยากเล่นเพลงยาวชื่อฉาวเอย. (สักวาของคุณพุ่ม), เขียนหนังสือโต้ตอบกันไปมาไม่รู้จักจบ

คาบเส้นยาแดง

หมายถึงทำงานเสร็จทันเวลาแต่ด้วยความกระทันหัน เฉียดฉิวเกือบจะไม่ทันรอดตัวได้หวุดหวิด

ฆ้องดีถ้าไม่ตีก็ไม่ดัง

หมายถึงผู้ที่มีคุณความดีในตัวนั้นถ้าไม่มีใครยกย่องชมเชยก็จะไม่มีใครเห็นความดีนั้น เปรียบดังฆ้องคุณภาพดี แต่ก็ต้องมีคนดีถึงจะมีเสียงดังขึ้นมา

 สำนวนไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ