ค้นเจอ 81 รายการ

ใจฮ่มฮ่ม

หมายถึงใจเย็นเย็น

ขีน

หมายถึงไม่ชอบหน้า, ไม่พอใจ, ไม่ชอบ ขืน, ฝืน อย่างว่า ว่าเล่าทำเปืองปุ้นสมคามคลาที่ ดั่งนั้น ลุลาภพร้อมใจป้าห่อนขีนเมื่อใด (ฮุ่ง). ขัด อย่างว่า เมื่อนั้นสองแม่ป้าโลมลูกเอาใจ ก็บ่ขีนกุมารมอบศรศิลป์แก้ว บาก็ยินดีแท้ธรงศรขัดดาบ สองแม่ป้าเฮียงข้างลูบเลิง (สังข์). ขัดขืน อย่างว่า นางก็โจมแจ่มเจ้าองค์อ่อนยอมใจ ก่อนเถิ้น อาบ่มีขีนขืฃัดซิค่อยเติมตามน้อย (สังข์).

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

ขางเมือง

หมายถึงทหารที่ใจกล้าเหมือนเหล็กขาง สามารถรบราข้าศึกได้ชัยชนะ เรียก ทหารขาง ขางเมือง ก็ว่า อย่างว่า ตัวหนึ่งง้าวถนิมแก้วมณีโชติใสแพรว ลือเมือเถิงสวรรค์กล่าวขานขอซ้อง ภูธรท้าวหมายไปปุนชอบให้แก่อ้ายผ่องผู้ใจกล้ากว่าขาง (ฮุ่ง).

กะดิกกะดิ้น

หมายถึงอาการแสดงความอยากได้หรือความในใจให้ปรากฏด้วยการเคลื่อนไหวไปมา เรียก กะดิกกะดิ้น เช่น ผู้สาวมักผู้บ่าวก็จะแสดงอาการกะดิกกะดิ้น.

กรรมฐาน

หมายถึงที่ตั้งแห่งการงาน มี ๒ คือ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐานได้แก่อุบายสงบใจ วิปัสสนากรรมฐานอุบายเรื่องปัญญา.

คัก

หมายถึงสุดยอด , ดีที่สุด ,ได้ดั่งใจ
ถนัด แน่ ชัด การเห็นโดยไม่มีเคลือบแคลงสงสัย เรียก เห็นคัก
ถูกต้อง แน่นอน จริง เช่น เฮ็ดคักๆ เด้อ คึดคักๆ เว้าคักๆ.

วัลลี

หมายถึงเถาวัลย์ เครือเถา ไม้เถา (ป.ส.) อย่างว่า เล็งฟากฟ้าคือนาคลายวัลลิ์ ลางตัวแปรม่ายเมียงเมิลซ้าย ชะพึบพร้อมคุชสิงห์ฉันย่าง บางเคี่ยนย้ายดูดั่งกินรอน (ฮุ่ง)..

กฎ

หมายถึงปรากฏ, สังกฏ อย่างว่า สังกฏว่ามันมา แต่บ่เห็นมา จักมันไปใส (บ.) ผากฏ ก็ว่า อย่างว่า ผากฏแก้วสุมุณฑาทรงฮูปโฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).

จอมเมือง

หมายถึงนางสุมณฑา นางสุมณฑา เรียก จอมเมือง อย่างว่า จอมเมืองเจ้าใจฮมฮักไพร่ สนุกอยูหลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์).

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ