ค้นเจอ 9 รายการ

ไกวัล

หมายถึงทั้งมวล, ทั่วไป อย่างว่า ข้าขอวันทาน้อมไกวัลคุณขอบ (มาตา).

ไถเผือ

หมายถึงข้า ทาส อย่างว่า กับทังบริวารพร้อมไถเผือพอหมื่น (ฮุ่ง).

ข่า

หมายถึงคนใช้, คนรับใช้ คล้ายกับคำในภาษาไทยคำว่า ข้า, ขี้ข้า

ขี้ข้า

หมายถึงทาส

เคิ่ง

หมายถึงครึ่ง กึ่ง ส่วนหนึ่งในสองส่วน เรียก เคิ่ง เคิ่งหนึ่ง ก็ว่า อย่างว่า ข้าจักให้เคิ่งหนึ่งแต่เจ้าทังสอง (เวส).

ไอศวร

หมายถึงพระอิศวร อย่างว่า จตุโลกไท้ท้าวใหญ่ยมภิบาล ก็ดี ธรณีนางเมขลาดวงสร้อย กับทังไอศวรสร้างภายภูมิพื้นต่ำ ก็ดี ขอให้มาพร่ำพร้อมคอยข้าเมื่อมัว แด่ถ้อน (สังข์).

ฮ้องโห่

หมายถึงโห่ร้อง อย่างว่า จัดหมู่หน้ายอก่อนไหลหาญ ผายชะลือวอระนีเกี่ยวชูใสเข้า แมนหาญเข้าคุมคุมฮ้องโห่ เจ้ายี่เฆี่ยนหมู่ข้าฝูงกล้าดาดชน (ฮุ่ง).

กดหน้า

หมายถึงก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).

ไฮ่ (ตบ)

หมายถึงตบ ตี ตีฆ้อง เรียก ไฮ่ฆ้อง อย่างว่า ลมเป่งเปลื้องเฟือยข่าแคมภู สะพึนจันทร์ก่ายดอยดาวข้อน ยูงวอนก้องสันภูใกล้ฮุ่ง ค้อนไฮ่ฆ้องคนพร้อมแต่งครัว (ฮุ่ง) ช้างแกว่งฆ้องกะเิงห้าวไฮ่เสียง (กา) ค้อนไฮ่ฆ้องฮางป่าวตีเติน ฮมฮมยอผาลาแห่จอมเมือหน้า เสินเสินช้างพังพลายย้ายย่าง หลายส่ำข้าอวนเจ้าท่องทาง (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ