ค้นเจอ 73 รายการ

ถืก

หมายถึงถูกต้อง, ถูก, โดน, แตะต้อง สัมผัส อย่างว่า ผิดถืกแท้คลองเถ้าดั่งรือ นั้นจา (สังข์) ของไม่แพง เรียก ของถืก อย่างว่า ตาชิบอดมันแดง ของชิแพงมันถืก (ภาษิต).

บืน

หมายถึงเสือกไป ไสไป คืบไป ใช้อกเสือกไป เรียก บืน เช่น งูบืน ปลาบืน อย่างว่า มันหากเหลือแฮงแล้วปลาบืนยามเดือนสี่ เงี่ยงกะหลุ้ยคุยกะล้มปานนั้นว่าบ่บืน (กลอน).

มุ่น

หมายถึงแหลก ละเอียด ตำจนแตกละเอียดเรียก มุ่น มุ่นมิน ก็ว่า อย่างว่า มันก็แข็งใจตั้งเขียวดวเดินฟั่ง สะดุดด่วนต้องผาม้างมุ่นมิน (สังข์).

กี่

หมายถึงเผา ใช้กับการทำอาหารให้สุก คล้ายการปิ้งหรือย่าง โดยวางบนไฟตรง ๆ ซึ่งจะใช้ไฟค่อนข้างแรง หรือบางทีอาจจะซุกไว้กับขี้เถ้าที่ยังมีความร้อนอยู่

ยูแต่ง

หมายถึงปรุงอาหารด้วยความสะดวกเรียก ยูแต่ง อย่างว่า แม้นว่าของกินล้นเต็มพายูแต่ง บ่ท่อถ้วยแจ่วน้อยนางน้องสู่กิน (หมายุย).

โล้งโค้ง

หมายถึงเขาควายที่ใหญ่และงองุ้มเรียก เรียก เขาโล้งโค้ง อย่างว่า บวชแต่น้อยบ่ฮู้แห่งคลองคหัสถ์ ผัดแต่ในคลองธรรมบ่อวดโตกะพอฮู้ บวชแต่น้อยบ่เห็นฮอยหมู่ แม่เห็นแต่บักโล้งโค้งหมูผู้หนวดยาว (บ.) อย่าได้โสกาดิ้นนำงาช้างเพิ่น ไห้ต่อเขาโล้งโค้งควายเถ้าแห่งเฮา (กลอน

ไหล่ทวีป

หมายถึงบริเวณใต้น้ำทะเลรอบๆ ทวีป ซึ่งมีความลาดเอียงน้อยๆ แผ่ยื่นออกไปจากฝั่งทะเล นับจากแนวน้ำลงต่ำสุดลงไป เรียก ไหล่ทวีป.

ไอยรา

หมายถึง1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์).

ก่งด่ง

หมายถึงอาการชี้ขึ้น เช่น วัวตื่นวิ่งไปหางจะชี้ก่งด่ง อย่างว่า งัวถือเชิงหางชี้ก่งด่ง แล่นข้วมท่งลัดป่าลัดดอน บ่ได้กินได้นอน มันกะบ่เมื่อย

จังไฮ

หมายถึงจังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์).

วิสามัญฆาตกรรม

หมายถึงการฆ่าซึ่งเจ้าหน้าที่ลงมือฆ่าเอง.

ขี้ถี่ (นก)

หมายถึงนกทึดทือ นกทึดทือเรียก นกขี้ถี่ นกชนิดนี้ร้องเสียงดังทึดทือทึดทึ้ง ก็ว่า อย่างว่า ใผชิหลิงเห็นใส้ตับไตนกขี้ถี่ มันหากฮ้องทึดทึ้งใจเลี้ยวใส่กระป ู(ผญา)

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ