ค้นเจอ 51 รายการ

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

ไซ

หมายถึง- เครื่องสานด้วยไม้ไผ่ชนิดหนึ่งเรียก ไซ - ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง ใบยาวแหลมคมเรียก หญ้าไซ. - เสกเป่าด้วยมนต์ เช่น วัวควายเป็นบาดแผล เสกมนต์เป่า เรียก ไซบาดแผล. - คลั่ง บ้าเลือด เช่น วัวควายถูกตี เลือดมันคลั่ง มันจะขวิดเรา เรียก งัวควายไซ.

ไคว่ค้อนกลอง

หมายถึงวิธีตีกลองแบบหนึ่งสำหรับตีกลองสองหน้า มือสองข้างจับค้อนสองอันไขว้กันแล้วตีพร้อมกัน.

ถืก

หมายถึงถูกต้อง, ถูก, โดน, แตะต้อง สัมผัส อย่างว่า ผิดถืกแท้คลองเถ้าดั่งรือ นั้นจา (สังข์) ของไม่แพง เรียก ของถืก อย่างว่า ตาชิบอดมันแดง ของชิแพงมันถืก (ภาษิต).

บืน

หมายถึงเสือกไป ไสไป คืบไป ใช้อกเสือกไป เรียก บืน เช่น งูบืน ปลาบืน อย่างว่า มันหากเหลือแฮงแล้วปลาบืนยามเดือนสี่ เงี่ยงกะหลุ้ยคุยกะล้มปานนั้นว่าบ่บืน (กลอน).

มุ่น

หมายถึงแหลก ละเอียด ตำจนแตกละเอียดเรียก มุ่น มุ่นมิน ก็ว่า อย่างว่า มันก็แข็งใจตั้งเขียวดวเดินฟั่ง สะดุดด่วนต้องผาม้างมุ่นมิน (สังข์).

ไอยรา

หมายถึง1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์).

ก่งด่ง

หมายถึงอาการชี้ขึ้น เช่น วัวตื่นวิ่งไปหางจะชี้ก่งด่ง อย่างว่า งัวถือเชิงหางชี้ก่งด่ง แล่นข้วมท่งลัดป่าลัดดอน บ่ได้กินได้นอน มันกะบ่เมื่อย

จังไฮ

หมายถึงจังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์).

วิสามัญฆาตกรรม

หมายถึงการฆ่าซึ่งเจ้าหน้าที่ลงมือฆ่าเอง.

ขี้สูด

หมายถึงรังของแมลงจำพวกแมงน้อย แมงน้อยนี้ชอบทำรังตามจอมปลวกหรือตามโพรงไม้ รังของมันมีน้ำหวานปั้นเอาน้ำหวานออก เรียก ขี้สูดแมงน้อย แมงน้อยไม่มีเหล็กไน ต่อยคนไม่เป็น.

ขี้ถี่ (นก)

หมายถึงนกทึดทือ นกทึดทือเรียก นกขี้ถี่ นกชนิดนี้ร้องเสียงดังทึดทือทึดทึ้ง ก็ว่า อย่างว่า ใผชิหลิงเห็นใส้ตับไตนกขี้ถี่ มันหากฮ้องทึดทึ้งใจเลี้ยวใส่กระป ู(ผญา)

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ