ค้นเจอ 66 รายการ

ไค

หมายถึงทุเลา เบา ดีขึ้น เวลาเจ็บป่วยอาการป่วยทุเลา เรียก ไค ไคแน่ ไคหลาย ก็ว่า.

ไหย้

หมายถึงบังเหียน บังเหียนที่ใช้สวมปากม้าเวลาขี่ เรียก ไหย้ม้า บังเหียน หมากเหียน ก็ว่า.

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว ้ติดกับฟืม กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูก ในเวลาจะทอครั้งต่อไป

ฮึม

หมายถึงพื้นที่น้ำแฉะตลอดทั้งปี ตกชุก ตกไม่ขาด เรียกฝนที่ตกชุกไม่ขาด เรียก ฝนตกฮึม.

กงสะเด็น

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีผล เวลาผลแก่เต็มที่ผลจะแตกกระเด็นตกไปในที่ไกล เรียก ต้นกงสะเด็น

กรรมวาจาจารย์

หมายถึงอาจารย์สวดกรรมวาจาฝ่ายขวา คู่กับพระอนุสาวนาจารย์ อาจารย์ส่วนกรรมวาจาฝ่ายซ้ายในเวลาอุปสมบท.

ไคล

หมายถึงเหงื่อ เหงื่อที่ปนกับละอองแห้งเกรอะกรังอยู่ตามร่างกาย เรียก ขี้ไคล อย่างว่า พอคราวท้าวสีไคลล้างลูบ แล้วแต่งเนื้อพะเนผ้ายย่างเชิง (สังข์).

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูกในเวลาจะทอครั้งต่อไป

งุม

หมายถึง-ครอบไว้,ปิด ครอบ คว่ำ เช่น คว่ำถ้วย เรียก งุมถ้วย ปิดตาเรียก งุมตา อย่างว่า มือหนึ่งงุมของพี่ มือหนึ่งตี่ของโต (บ.). -งม งมปลาเรียก งุมปลา งมหอย เรียก งุมหอย งมกุ้งเรียก งุมกุ้ง งมก็ว่า. -ปิด บัง อย่างว่า ความมักมากุ้มกุ้มคือกะสุ่มงุมงอ ความมักมาพอพอคือกะทองุ้มฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกะบาท (ผญา).

ขี้หลี้

หมายถึงมาก ดำขี้หลี เรียก ดำมากหรือดำปีด อย่างว่า เห็นว่าขี้หลี้อย่าฟ้าวขี่เฮือกลาย เห็นว่าดำขอยลอยอย่าฟ้าวพายเฮือเว้น (กลอน).

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

แป่นแว่น

หมายถึงลักษณะหน้าตาที่สดใส หน้าตาเบิกบานสดชื่น เรียก หน้าแป่นแว่น ถ้าเป็นแก้มก็แก้มแป่นแว่น อย่างว่า เหลียวเห็นหน้าขาวมาแป่นแว่น พออยากแก้ซิ่นแล่นลัดต้อนหัวดอน (บ.)

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ