ค้นเจอ 448 รายการ

ก่าย

หมายถึงคัด, ลอก การเอาเหล็กจารเขียนหนังสือในใบลาน เรียก ก่ายหนังสือ.

ขี้กะเตอะ

หมายถึงสวะที่ลอยตามน้ำ เรียก ขี้กะเตอะ ตุมปวก ขี้ตุมปวก ขี้เฮอะ ก็ว่า

ขีดขั้น

หมายถึงคั่น, ขอบเขต การกำหนดให้แน่นอนลงไปเรียก ขีดขั้น เช่น เขตบ้าน เขตเมือง เขตวัด.

โศกนาฏกรรม

หมายถึงเรื่องราวจะเป็นลิเก ละครหรือการละเล่นใดๆ ลงท้ายต้องประสบกับความเศร้าสลดใจ เรียก โศกนาฏกรรม.

ฮ้วม

หมายถึงรวน อาหารมีปลาหรือเนื้อที่ต้มให้สุกแล้วเก็บไว้ เมื่อต้องการก็เอามาปรุงเป็นอาหาร เรียก

แกง

หมายถึงชื่ออาหารมีน้ำจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดที่มีน้ำพอดี เรียก แกงธรรมดา แกงผสมหลายอย่างเรียก แกงซั้ว แกงสงฆ์ แกงชนิดมีน้ำน้อย เรียก แกงอ่อม อย่างว่า คันซิเอาะอ่อมจ้ำอย่าได้ใส่น้ำหลาย มันชิใสแจงแลงบ่เป็นตาจ้ำ (ย่า)

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

กระจะ

หมายถึงแจ่มแจ้ง, ชัดเจน, ขาวผ่อง ลายชัดเจนเรียก ลายกระจะ ขาวผ่องเรียก ขาวกระจะ อย่างว่า ขาวกระจะปานน้ำถ้วมเข้า ตั้งเช้าเง้าปานนมผู้สาว.(บ).

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

กรรมทายาท

หมายถึงผู้รับผลของกรรม กรรมมี ๒ คือ กรรมดี เรียก กุศลกรรม กรรมไม่ดี เรียก อกุศลกรรม เราสร้างกรรมดีเราก็ได้รับผลดี เราสร้างกรรมชั่วเราก็ได้รับผลชั่ว พ่อแม่พี่น้องรับแทนไม่ได้.

ก๊มโก๋ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊มโก๋ะก๊มโก้ย ก๊งโก๋ะ ก็เรียก

ขี้เหล็กสาร

หมายถึงแสมสาร ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ขี้เหล็กสาร ใบใหญ่ ใช้ทำยาได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ