ค้นเจอ 88 รายการ

หิ่งเมือง

หมายถึงเจ้าเมือง อย่างว่า ประกอบผู้เจ้ายี่ยินสงวน ปุนแควางหิ่งเมืองกินแล้ว เทพีฟ้าชวนเจืองเอาแพ่ง เจ็ดอู่แก้วธรรม์ต้นลูกแกว (ฮุ่ง).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

จังไฮ

หมายถึงจังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์).

จตุโลกบาล

หมายถึงผู้รักษาโลกในสี่ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ รักษาโลกในทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก รักษาโลกทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกทางทิศตะวันตก ท้าวกุเวร รักษาโลกในทางทิศเหนือ (ป.).

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

จัตุโลกบาล

หมายถึงผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ จอมภูต อยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา อยู่ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค อยู่ทิศตะวันตก ท้าวกุเวร จอมยักษ์ อยู่ทิศเหนือ (ป.).

กรรมกรณ์

หมายถึงลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ.

ไคว่ขีน

หมายถึงระเนระนาด ไม้ล้มทับกันระเนระนาด เรียก ไม้ล้มไขว่ขีน อย่างว่า จิกฮังล้มโคมกันขีนไคว่ กล้วยอ้อยล้มโคมฮั้วไฮ่สวน สาวฮามฮ้างโคมกันกับบ่าว ผู้สาวส่ำน้อยล้มโคมท้าวบ่าวเชียง (บ.).

ขื่อเมือง

หมายถึงโยธาทหารผู้แกร่งกล้าเป็นรั่วรักษาประเทศชาติ เรียก ขื่อเมือง อย่างว่า แล้วย่างย้ายเมือสู่ชองคำ พอดียนยนขุนขือเมืองมาเฝ้า ประดับแถวถ้องเสนานบนั่ง พระจิ่วแก้ข่าวให้ขุนฮู้เหตุฝัน (สังข์).

ฮ้อง

หมายถึงร้อง เปล่งเสียงดัง เรียก ฮ้อง อย่างว่า ฟังยินโกนโดกฮ้องฮิ่มไฮ่กินไฮ พุ้นเยอ บาศรีเสด็จออกโฮงคนเฝ้า เจืองก็จงใจแก้วโฉมงามง้อมม่วน ผู้ที่เหง้ากระหายฮ้อนคู่ไฟ (ฮุ่ง).

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ