ค้นเจอ 19 รายการ

กรรมชา

หมายถึงผู้เกิดแต่กรรม คนที่สร้างกรรมดีไว้ เมื่อเกิดมาก็เกิดในพ่อแม่ที่ดี มีอวัยวะครบ ไม่ใบ้บ้าเสียจริต ผิดมนุษย์ มีสติปัญญาดี ถ้าสร้างกรรมไม่ดีก็เกิดมาในที่ตรงกันข้าม.

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

โพด

หมายถึงเลย เกิน กินเกินเรียก กินโพด นอนเกินเรียก นอนโพด พูดเกินเรียก เว้าโพด ทำอาหารใส่เกลือเกินเรียก โพดเกลือ ใส่ปลาร้าเกินเรียก โพดปลาแดก อย่างว่า เถ้าแถลงพ้นโพดความ (สังข์) ชื่อว่าผิดโพดพ้นนักขิ่นขอวอนไว้ก่อน ตางดูใจใช่อันดีฮ้าย ฟังกลอนอั้วอามคายขานขอบ เฮาพี่น้องทังค้ายคู่คน (ฮุ่ง).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ