ค้นเจอ 141 รายการ

กระโบม

หมายถึงภาชนะชนิดหนึ่งทำด้วยไม้นำมาขุดเป็นรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว และยังใช้เป็นภาชนะรองถ้วยชามเป็นสำรับ กระบม หรือ โบม ก็เรียก

ฮ้อง

หมายถึงร้อง เปล่งเสียงดัง เรียก ฮ้อง อย่างว่า ฟังยินโกนโดกฮ้องฮิ่มไฮ่กินไฮ พุ้นเยอ บาศรีเสด็จออกโฮงคนเฝ้า เจืองก็จงใจแก้วโฉมงามง้อมม่วน ผู้ที่เหง้ากระหายฮ้อนคู่ไฟ (ฮุ่ง).

กบิล

หมายถึง1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์).

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

กดหน้า

หมายถึงก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).

ขี้สีก

หมายถึงน้ำครำ แอ่งน้ำใต้ถุนเรือนตรงที่ตั้งโอ่งน้ำกินน้ำใช้ แอ่งน้ำนี้แหละเรียก น้ำขี้สีก น้ำขี้สีกนี้หมอยาโบราณถือว่าเป็นน้ำยาศักดิ์สิทธิ์ ถ้าคนป่วยเป็นไข้ออกหมึก ออกซาง ไข้หมากไม้ใหญ่ หมอจะไปเอาน้ำนี้มาฝนใส่ยา แก้ไข้ดีนักแล.

ไก่

หมายถึงสัตว์จำพวกมีปีก มีหลายชนิด เช่น ไก่ที่มีฤทธิ์เดช สามารถสู้รบตบตีได้ชัยชนะไม่มีแพ้ เรียก ไก่แก้ว ไก่ที่มีขนหางงอนลง มีขนไม่ดก คนชอบเอาไปเลี้ยงผีปูผีตาผีตาแฮก เรียก ไก่กุ้ม ไก่ป่า เรียก ไก่ขัว ไก่ที่มีเหนียงหย่อนลงเหมือนงวงช้าง เรียก ไก่งวง .

ไฮ้

หมายถึงไร้ ขัดสน ลำบาก ไม่มี อย่างว่า เมื่อนั้นเศรษฐีเถ้าทังสองพ่อแม่ เล่าว่ามาโผดเถ้าเฮือนไฮ้ดั่งรือ นี้เด (สังข์) เลี้ยงพี่น้องฝูงหมู่คนผอม ลุงอาวสูใส่ใจจำหมั้น ทอมคนไฮ้เฮือนคลองทุกข์ยาก ดีดาย เขานั้นคือเขื่อนขั้นเวียงแก้วเกิ่งหิน (ฮุ่ง).

แนม

หมายถึงมองตาม มองดู อย่างว่า บัดนี้กาละนับมื้อส้วยงัวควายบ่ได้ปล่อย เด็กน้อยเป็นผู้เลี้ยงคนเถ้านั่งแนม (กลอน) สังมาแนมตาสิ้งหลิงตาบ่พอหน่วย (กา) อันว่าฮมฮักเจ้าเจืองลุนล้านส่ำอมโนนาถไท้แนมน้องบ่วาง (ฮุ่ง).

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ