ค้นเจอ 89 รายการ

ทรง

หมายถึงมีครรภ์เรียก ทรงคัพ อย่างว่า นางก็ทรงคัพได้หลายเดือนจวนประสูติ ก็บ่มีเหตุฮ้อนการฮ้ายเหยื่องใด (กลอน) มีธรรม เรียก ทรงธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นปรางคำคลุ้มทรงธรรมคนิงมาก เห็นฮุ่งยามยอดแก้วเทียวใช้ชาติพระองค์ (สังข์).

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

ห้า

หมายถึงจำนวนสี่บวกหนึ่ง เรียก ห้า ชื่อเดือนทางจันทรคติ เรียก เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าผู้ผ่านเมืองประกัน ถือพลเถิงตูมวางแวดเวียงระวังล้อม ตีพลายไว้หัวแหลมห้าหมื่น ย้ายหมู่ตั้งฮิมแม่ทรายคำ (ฮุ่ง).

ก้นแงน

หมายถึงก้นงอน ก้นที่งอนออกมาข้างหลัง เรียก ก้นแงน อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนก้นเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ซ้อน เมือหน้าบ่ดี (คำสอน).

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

ให้ค่อยแก้

หมายถึงแก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)

แหลว (นกชนิดหนึ่ง)

หมายถึงเหยี่ยว ชื่อนกชนิดหนึ่งในจำพวกนกอินทรีมีหลายชนิด เช่น แหลวแดง แหลวตังบี้ แหลวนกเขา แหลวพานโตน อย่างว่า เชื้อชาติแฮ้งบ่ห่อนเวิ่นนำแหลว แนวหงส์คำบ่บินนำฮุ้ง (ผญา) คือคู่ลูกไก่น้อยรือย้านหย่อนแหลว (สังข์).

แส้ว

หมายถึงบินฉวัดเฉวียน เช่น แมลงภู่แมลงผึ้งบินตอมดอกไม้ เรียก บินแส้ว อย่างว่า ภุมรินแส้วชมแซวบินแส่ว (กา) แซวเกียงแส้วบินเหินหาคู่แม้งหนึ่งเถิงแก่วส้านเขาช้างมุ่งเมือง (ฮุ่ง). คำที่ใกล้เคียง : แส่ว

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

กระจาย

หมายถึงกำจาย ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งใบและดอกคล้ายต้นฝาง ฝักคล้ายฝักส้มป่อย เมล็ดใหญ่ ใช้เมล็ดแช่น้ำสีดำใช้ย้อมผ้าได้ เรียก หมากกระจาย อย่างว่า โอนอหีเอย คันชิเมือนำอ้ายหีบ่แดงให้ย้อมครั่ง คันแม่นย้อมครั่งแล้ว ให้ลงแหล้หมากกระจาย (อ่านเจือง). ชื่อว่านชนิดหนึ่งเรียก ว่านกระจาย ใช้เป็นว่านคงยิงไม่ออกแทงไม่เข้าผู้มีว่านกระจายต้องเลี้ยงว่านปีละครั้ง ใช้เขียดหรือกบดิบเลี้ยง โยนกบหรือเขียดดินเข้าไปว่านจะดูดกินเลือดกบหรือเขียดทันทีถ้าไม่เลี้ยงว่านจะไม่ศักดิ์สิทธิ์และเจ้าของว่านจะเป็นปอบ

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ