ค้นเจอ 59 รายการ

วิสสุกรรม

หมายถึงพระวิศวกรรม วิษณุกรรม เวสสุกรรม หรือ เพชฉลูกรรม ก็ว่า.

ไตรทศ

หมายถึงเทวดา 33 องค์ หมายถึง พระอินทร์และบริวารของพระอินทร์ซึ่งอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ประจำเมือง

หมายถึงชื่อดาวพระศุกร์ที่ขึ้นในเวลาหัวค่ำ.

สามีจิกรรม

หมายถึงการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของพระเณรในระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อย.

กมลาสน์

หมายถึงผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือพระพรหม (ป.ส.).

ก้งตาเว็น

หมายถึงพระอาทิตย์ทรงกลด ก้งตาเว็น เกิ้งตาเว็น กะว่า

ไตรตรึงษ์

หมายถึงดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ 2 คือ ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นชั้นที่พระอินทร์ครอง.

สังฆกรรม

หมายถึงกิจที่พระสงฆ์สี่รูปขึ้นไปรวมกันทำภายในสีมา เรียก สังฆกรรม (ป.).

ผาติกรรม

หมายถึงการทำให้เจริญ หมายถึง พระสงฆ์จำหน่ายครุภัณฑ์ หรือจำหน่ายของเสียทำให้ดี.

กกุธ์ห้า

หมายถึงเครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).

กฎี

หมายถึงเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร เรียก กฎี กุฏี กะฏีก็ว่า (ป.กุฏิ).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ