ค้นเจอ 63 รายการ

แมงบ้ง

หมายถึงบุ้ง, หนอนผีเสื้อ, ตัวหนอนของแมลง มักจะใช้เรียกหนอนที่มีขนปกคลุม บ้ง, บ้งขน, แมงบ้งขน, หนอนบ้ง ก็เรียก

กงจักร

หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลม เช่น กงเกวียน กงล้อ กงรถ เรียก กงจักร อย่างว่า นำกงจักรจากไปปอมเว้น (สังข์)

ไท้

หมายถึงผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้า อย่างว่า เสด็จล่วงขึ้นเถิงไท้ขาบทูล (กา) ดอกหนึ่งฟ้าสนั่นก้องเวหา ดอกหนึ่งสถานกงญายอดไท้ ดอกหนึ่งซอมแซมหยาหลายกาบ ดวงดาดดวงละไล้ลูบไล้ลืมวาง (ฮุ่ง).

เก่เด่

หมายถึงชี้ตรง, อาการอื่น ๆ ที่มีลักษณะแข็งและตรง แก่แด่ (ใช้สำหรับสิ่งที่มีอาการคล้ายกัน แต่มีขนาดเล็ก) ก็เรียก

กะดิกกะดิ้น

หมายถึงอาการแสดงความอยากได้หรือความในใจให้ปรากฏด้วยการเคลื่อนไหวไปมา เรียก กะดิกกะดิ้น เช่น ผู้สาวมักผู้บ่าวก็จะแสดงอาการกะดิกกะดิ้น.

กงวัฏ

หมายถึงสิ่งหรือสถานที่มีลักษณะคล้ายกงจักร เพราะคลำหาต้นสายปลายเหตุไม่พบ เรียก กงวัฏ หรือสังสารวัฏ คือ เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุพระอรหัต

งุม

หมายถึง-ครอบไว้,ปิด ครอบ คว่ำ เช่น คว่ำถ้วย เรียก งุมถ้วย ปิดตาเรียก งุมตา อย่างว่า มือหนึ่งงุมของพี่ มือหนึ่งตี่ของโต (บ.). -งม งมปลาเรียก งุมปลา งมหอย เรียก งุมหอย งมกุ้งเรียก งุมกุ้ง งมก็ว่า. -ปิด บัง อย่างว่า ความมักมากุ้มกุ้มคือกะสุ่มงุมงอ ความมักมาพอพอคือกะทองุ้มฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกะบาท (ผญา).

ไหมขี้

หมายถึงเส้นไหมที่สาวออกมาทีแรกเส้นไหมไม่ค่อยเรียบ มักมีขี้ไหมติดตามเส้นไหม เรียก ไหมขี้ ไหมขี้นี้จะต้องฟอกล้างเสียก่อนจึงจะใช้ทอให้เป็นไหมดีได้.

กดหน้า

หมายถึงก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).

ไฮ้

หมายถึงไร้ ขัดสน ลำบาก ไม่มี อย่างว่า เมื่อนั้นเศรษฐีเถ้าทังสองพ่อแม่ เล่าว่ามาโผดเถ้าเฮือนไฮ้ดั่งรือ นี้เด (สังข์) เลี้ยงพี่น้องฝูงหมู่คนผอม ลุงอาวสูใส่ใจจำหมั้น ทอมคนไฮ้เฮือนคลองทุกข์ยาก ดีดาย เขานั้นคือเขื่อนขั้นเวียงแก้วเกิ่งหิน (ฮุ่ง).

เข้ากรรม

หมายถึง1.)การอยู่ไฟ การอยู่ไฟของผู้หญิง เมื่อคลอดลูกแล้วจะต้องอยู่ไฟ เพื่อให้มดลูกเข้าอู่และให้มีร่างกายแข็งแรง เป็นพิธีกรรมในการออกลูกของคนโบราณ. 2.)การเข้าปริวาสมานัตและอัพภาน เรียก เข้ากรรม ธรรมเนียมมีว่า เมื่อภิกษุต้องอาบัติหนัก จะต้องอยู่กรรมเสียก่อนจึงจะเป็นผู้บริสุทธิ์ได้ การอยู่กรรมของภิกษุนี้ถือเป็นประเพณีหนึ่งในประเพณีทั้งสิบสองของภาคอีสาน หรือที่เรียกกันว่าฮีตสิบสอง.

ก้นคุ

หมายถึงก้นต่า, ก้นสอบ, ก้นไซ, ก้นบุง, ก้นกะติบ, ก้นแอบ, ก้นแอ่ง, ก้นอุ, ก้นหม้อ, ก้นไห สารพัดก้นซึ่งก็หมายถึงข้างล่าง หรือส่วนสุดของสิ่งเหล่านั้น.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ