ค้นเจอ 27 รายการ

ขี้งา

หมายถึงชื่อผ้าไหมชนิดหนึ่ง ใช้ไหมขาวกับไหมดำปนกัน เช่น เครือหูกเป็นไหมดำไหมที่ทอเป็นไหมขาว เมื่อสำเร็จแล้วจะเป็นสีขี้งาคือสีขาวกับสีดำปนกัน.

ขี้กะเพย

หมายถึงเส้นไหมที่สาวจากฝักหลอกหลีบ ฝักหลอกกลีบ ก็ว่า เส้นไหมชนิดนี้ไม่เรียบร้อย เรียก ไหมขี้กะเพย.

คันแหม่น

หมายถึงถ้ามันจริง,ถ้าจริงดังว่า,ถ้ามันใช่

ไตรลักษณ์

หมายถึงลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป 3 ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน.

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว ้ติดกับฟืม กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูก ในเวลาจะทอครั้งต่อไป

แม่น

หมายถึงใช่ คำว่า แม่น ภาษาอีสานจะออกเสียงว่า แม็น (เสียงสั้น) จะไม่ได้ออกเสียง แม่น ที่แปลว่า เที่ยงตรง ถูกต้อง

กกหูก

หมายถึงด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูกในเวลาจะทอครั้งต่อไป

ปลงกรรมฐาน

หมายถึงพิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.

กงหลา

หมายถึงกงไนสำหรับกรอด้าย กรอไหม เรียก กงหลา อย่างว่า เหล็กในบ่มีกงหลาแล้วชิกลายเป็นเหล็กส่วน มีผัวบ่มีลูกเต้าเขาชิเอิ้นแม่หมัน (ย่า).

กงโลก

หมายถึงทั่วโลก เขตจักรวาลหรือโลกเรียก กงโลก อย่างว่า ควรที่อัศจรรย์ล้ำโลกา กงโลก มีในห้าสิบชาติ แท้เทียวใช่ส่งเวร (สังข์)

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ