ค้นเจอ 167 รายการ

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

เกง

หมายถึงชื่อเครื่องดักสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง จำพวกกระต่าย สานด้วยเชือกปอหรือป่านตาห่างๆ เหมือนตาแห เรียก เกง ชิง ก็ว่า ดักกระต่าย คือห้างกระต่าย.

เมือง

หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ของคนเรียก เมืองคน เป็นที่อยู่ของเทวดาเรียก เมืองสวรรค์ เป็นที่อยู่ของพรหมเรียก เมืองพรหม เป็นที่ตั้งของรัฐบาลเรียก เมืองหลวง เมืองที่ขึ้นความปกครองเรียก เมืองขึ้น เมืองนอกจากเมืองเราเรียก เมืองนอก.

กฎุมพี

หมายถึงคนมั่งมีเรียก กฎุมพี กฎมพีต ก็ว่า อย่างว่า ยังมีกฎมพีตเชื้อสถิตที่นครหลวง พาราญสีเมืองทีปชมพูภายพื้น (เสียว).

แก่แด่

หมายถึงชี้ตรง, อาการอื่น ๆ ที่มีลักษณะแข็งและตรง โดยมักใช้ขยาย เพื่อบ่งบอกว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีขนาดเล็ก เก่เด่ (ใช้สำหรับสิ่งที่มีอาการคล้ายกัน) ก็เรียก

ขี้ยาง

หมายถึงน้ำมันยาง น้ำมันที่เกิดจากต้นยางหรือต้นไม้อื่น นิยมเรียก ขี้ยาง ขี้ยางนี้เอามาผสมกันขอนดอกทำเป็นกะไต้หรือกระบอง สำหรับจุดไฟให้เกิดแสงสว่าง.

ไหว้พ่อแม่

หมายถึงทำพิธีไหว้พ่อแม่ พ่อแม่นั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ต่อลูกของตน พ่อแม่เป็นทั้งบูรพาจารย์ เป็นทั้งเทวดาและอาหุเนยยะปูชนียะของลูก.

กงหัน

หมายถึงระหัด พัดลม เครื่องวิดน้ำเข้านา เรียก กงพัด กงหัน ก็ว่า คนโบราณอีสานเมื่อต้องการน้ำในแม่น้ำขึ้นมาทำนาก็ใช้กงพัดหรือกงหัน ดึงเอาน้ำขึ้นมา เรียก หมากปิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื่อกงหันลมต้องปิ่นหันลิ่นลิ่นปานคนหมุน(กลอน).

ขี้ทักแท่

หมายถึงไส้เดือนตัวเล็กเรียก ขี้ทักแท่ ขี้ทักแท่เหมือนไส้เดือน แต่ตัวเล็กกว่า สีจ่อนข้างแดง ชอบอยู่ตามที่ชื้นตามขี้สีก ชอบกัดกินรากพลู

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ