ค้นเจอ 71 รายการ

ค่ำม้อย ๆ

หมายถึงค่ำลงเรื่อย ๆ, ค่อย ๆ มืดลง ๆ

นวังคสัตถุศาสน์

หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัมภูตธรรม เวทัลละ (ป.).

ข้าวต้มแดก

หมายถึงเป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น

เมิดคำสิเว้า

หมายถึงไม่มีอะไรจะพูด/พูดไม่ออก

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

แส่ว

หมายถึง1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

ไต

หมายถึง1.)อวัยวะชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ เรียก ไต อนึ่งเนื้อที่เป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อเรียก เนื้อเป็นไต. 2.)ขัน ถาด ขันหรือถาดเรียก ไต ไตคำ ก็ว่า 3.)แผ่นดิน แผ่นดินเรียก แผ่นไต

ขื่อเมือง

หมายถึงโยธาทหารผู้แกร่งกล้าเป็นรั่วรักษาประเทศชาติ เรียก ขื่อเมือง อย่างว่า แล้วย่างย้ายเมือสู่ชองคำ พอดียนยนขุนขือเมืองมาเฝ้า ประดับแถวถ้องเสนานบนั่ง พระจิ่วแก้ข่าวให้ขุนฮู้เหตุฝัน (สังข์).

ทรง

หมายถึงมีครรภ์เรียก ทรงคัพ อย่างว่า นางก็ทรงคัพได้หลายเดือนจวนประสูติ ก็บ่มีเหตุฮ้อนการฮ้ายเหยื่องใด (กลอน) มีธรรม เรียก ทรงธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นปรางคำคลุ้มทรงธรรมคนิงมาก เห็นฮุ่งยามยอดแก้วเทียวใช้ชาติพระองค์ (สังข์).

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ