ค้นเจอ 108 รายการ

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

ขาเลาะ

หมายถึงคนที่ชอบเที่ยวเตร่ไปเรื่อย ส่วนมากจะใช้กับวัยรุ่นหนุ่มสาวที่ชอบเตร็ดเตร่ เที่ยวเล่นสนุกสนาน

จังไฮ

หมายถึงจังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์).

ขี้หูด

หมายถึงชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ขึ้นเป็นไตแข็ง คนที่เป็นโรคผิวหนังจะเป็นตะปุมตะป่ำเรียก ขี้หูด.

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

ซ็อกง็อก

หมายถึงอาการของคนนั่งแบบซึมเศร้า, นั่งคอตก อาการที่งูตัวเล็กๆ ชูคอขึ้นเรียก คอซ็อกง็อก

กรรมวิบาก

หมายถึงผลของกรรมเรียกวิบาก ผลดีเกิดจากการทำดี ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี คนทำดีได้รับผลดี คนทำชั่วได้รับผลชั่ว ผลชั่วแม้แต่ผลชั่วก็ไม่ต้องการ ต้องการแต่ผลดี อย่างว่า ดีดีนี้ใผเห็นอยากเบิ่ง เทิงอยากเทิ้งเอาขึ้นขี่คอ (ภาษิต).

ไข่โล้

หมายถึงมดลูกของผู้หญิง ผู้หญิงบางคนเมื่ออายุมากมดลูกขนาดเท่าไข่เป็ดยื่นออกมา ไข่ที่ยื่นออกมานี้เรียก หมากไข่โล้.

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

เมือง

หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ของคนเรียก เมืองคน เป็นที่อยู่ของเทวดาเรียก เมืองสวรรค์ เป็นที่อยู่ของพรหมเรียก เมืองพรหม เป็นที่ตั้งของรัฐบาลเรียก เมืองหลวง เมืองที่ขึ้นความปกครองเรียก เมืองขึ้น เมืองนอกจากเมืองเราเรียก เมืองนอก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ