ค้นเจอ 103 รายการ

ไค

หมายถึงทุเลา เบา ดีขึ้น เวลาเจ็บป่วยอาการป่วยทุเลา เรียก ไค ไคแน่ ไคหลาย ก็ว่า.

กงวัฏ

หมายถึงสิ่งหรือสถานที่มีลักษณะคล้ายกงจักร เพราะคลำหาต้นสายปลายเหตุไม่พบ เรียก กงวัฏ หรือสังสารวัฏ คือ เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุพระอรหัต

ไต่เต้า

หมายถึงเดินตาม อย่างว่า ตวยไต่เต้าตามพื้นล่ำฮอย (กา) อย่าได้เดินไต่เต้าตามข้อยบ่ดี (กา).

เจ้าเมือง

หมายถึงเจ้าผู้ปกครองเมืองเรียก เจ้าเมือง อย่างว่า งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต) เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).

ผีเมือง

หมายถึงผีรักษาเมือง เข้าพ่อหลักเมืองหรือบุคคลที่มาสร้างบ้านแปลงเมือง เรียก ผีเมือง อย่างว่า เมื่อนั้นผีเมืองย้านยักโขขามเดช เลยเล่าละหน่อแก้วกลางห้องพ่ายพัง (สังข์).

ขี้เหล็กป่า

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในป่า เรียก ขี้เหล็กป่า ขนาดเท่าขี้เหล็กบ้านแต่ใบใหญ่กว่า ใช้ทำยาแก้ไข้ได้ดี.

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

กก

หมายถึงต้นไม้ ต้นไม้เรียก กกไม้ เช่น กกมี้ กกม่วง กกยม กกยอ กกเดื่อ อย่างว่า กกบ่เตื้องตีงตายตั้งแต่ง่า ง่าบ่เหลื้องมาเตื้องตั้งแต่ใบ (บ.)

คัก

หมายถึงสุดยอด , ดีที่สุด ,ได้ดั่งใจ
ถนัด แน่ ชัด การเห็นโดยไม่มีเคลือบแคลงสงสัย เรียก เห็นคัก
ถูกต้อง แน่นอน จริง เช่น เฮ็ดคักๆ เด้อ คึดคักๆ เว้าคักๆ.

ไหมขี้

หมายถึงเส้นไหมที่สาวออกมาทีแรกเส้นไหมไม่ค่อยเรียบ มักมีขี้ไหมติดตามเส้นไหม เรียก ไหมขี้ ไหมขี้นี้จะต้องฟอกล้างเสียก่อนจึงจะใช้ทอให้เป็นไหมดีได้.

กรรมวิธี

หมายถึงระเบียบ, แบบอย่าง, หลักการ การจะทำอะไรไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต้องให้มีระเบียบแบบอย่าง จึงจะน่าดูน่าชม เช่น จะฟังเทศน์ ฟังคำสั่งสอน จะกราบจะไหว้ต้องให้มีครู อย่างว่า หมกปลาแดกมีครู จี่ปูมีวาด (ภาษิต) ถ้าไม่มีครูจะกลายเป็นว่าหมกปลาแดกหนอนน้อยบ่ตาย (ภาษิต).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ