ค้นเจอ 201 รายการ

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

ก้อยก้อยกักกัก

หมายถึงการทำอะไรโดยไม่ตั้งใจ กลัวจะสำเร็จ ทำบ้างหยุดพักบ้าง เรียก เฮ็ดก้อยก้อยกักกัก.

ไฮ่

หมายถึงไร่ ที่สำหรับปลูกพืชในป่าดง เรียก ไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาาิต) หมายไฮ่ให้สุดชั่วแสงตา หมายนาให้สุดชั่วเสียงฮ้อง (ภาษิต) เป็นดั่งแสนส่ำห้อยน้ำผ่าเขาเขียว ไหลมาโฮมวังขวางสู่คุงคาเสี้ยง ชายหนึ่งทำนาแล้วทวนเทียวทำไฮ่ ฝังลูกเต้าแตงพร้อมถั่วงา (ฮุ่ง).

หน้าแบ้

หมายถึงหน้าตาตลก หน้าเหมือนแบ้ (แพะ) หน้าตาไม่ดี ไม่น่ามอง ไม่มีจุดเด่น อัปลักษณ์ ก็ว่า

แก่นเมือง

หมายถึงเจ้าเมือง เจ้าเมืองเรียก แก่นเมือง อย่างว่า เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).

กรรม

หมายถึง1.)การ, การงาน, การกระทำ, กิจ แยกแยกกรรมออกเป็น ๓ คือ กายกรรมงานมือ วจีกรรมงานพูด มโนกรรม งานคิด อย่างว่า งานคึดงานเว้างานทำคู่อย่าง บูฮาณเฮียกเอิ้นโฮมเว้าว่ากรรม (บ.). 2.)บุญคือการทำความดี บาปคือการทำความชั่ว บุญบาปติดตามผู้ทำให้ได้รับความดีหรือชั่ว เรียก กรรม อย่างว่าบุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น บุญบ่ให้เขาชิใช้ตั้งแต่เฮา (ภาษิต) บุญมีแล้วแนวดีป้องใส่บุญบ่ให้แนวขี้ฮ้ายแล่นโฮม(ภาษิต). 3.)เคราะห์ คือสิ่งที่ไม่สมหวังเรียก กรรม เช่น ชูชกได้เมียสาว ถูกเมียบังคับให้ไปขอกัณหาชาลีมาเป็นทาส เมื่อพระเวสสันดรให้โอรสและธิดาแล้วแนะนำให้ชูชกไปเมืองปู่ เพื่อพระเจ้าปู่จะได้ไถ่ถอนหลาน แต่ชูชกไม่กล้าไปเกรงจะถูกเคราะห์กรรม (เวส-กลอน) 4.)ผลของความดีหรือชั่วที่ตนทำในอดีตตามให้ผลเรียก กรรม อย่างว่า ผู้สาวได้ผัวเถ้ากรรมลาวสร้างแต่เก่า ผู้บ่าวได้แม่ฮ้างกรรมสร้างตั้งแต่หลัง (ภาษิต). กรรมแบ่งบั่นปั่นป่อนมาพบ บารมีภายหลังจิ่งได้เวียนมาพ้อ (บ.). 5.)คนตายเรียก ถึงแก่กรรม อย่างว่า ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีใผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา (บ.) ชื่อว่าความตายนี้แขวนคอทุกบาดย่าง ใผกะแขวนอ้อนต้อนเสมอด้ามดั่งเดียว (บ.).

กรรมพันธุ

หมายถึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนดีลูกที่เกิดมาก็พลอยดีไปด้วย อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน).

ขั่ว

หมายถึงการทำอาหารให้สุกโดยใส่น้ำนิดๆ หรือการคั่วนั่นเอง

กงสี

หมายถึงหุ้นส่วน, บริษัทที่บุคคลหมู่หนึ่งทำขึ้น เช่น กงสีต้มกลั่นสุรา.

กรรมการิณี

หมายถึงกรรมการซึ่งเพศหญิงที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทำงานดังกล่าวร่วมกับคณะกรรมการ.

กรรมวาจา

หมายถึงคำสวดในพิธีทำสังฆกรรม เช่น สวดกรรมวาจาในเวลาอุปสมบท.

เนื้อแดดเดียว

หมายถึงอาหารอีสานที่ทำจากเนื้อวัว หมักด้วยเกลือ น้ำปลา แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง สามารถนำไปทำอาหารำได้ทั้งทอด และย่าง

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ