ค้นเจอ 52 รายการ

ไตรลักษณ์

หมายถึงลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป 3 ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน.

กรรมบถ

หมายถึงทางแห่งกรรม มี ๒ อย่าง คือ กุศลกรรม ทางแห่งกรรมดี อกุศลกรรมทางแห่งกรรมไม่ดี ทางแห่งอกุศลกรรมมี ๑๐ อย่าง จัดเป็นกายกรรม ๓ อย่าง จัดเป็นวจีกรรม ๔ อย่าง จัดเป็นมโนกรรม 3 อย่าง ทางแห่งกุศลกรรมก็มี ๑๐ อย่างในทางตรงข้าม

แม่น

หมายถึงใช่ คำว่า แม่น ภาษาอีสานจะออกเสียงว่า แม็น (เสียงสั้น) จะไม่ได้ออกเสียง แม่น ที่แปลว่า เที่ยงตรง ถูกต้อง

ก้อนเส่า

หมายถึงก้อนเส่า คือนำก้อนหิน 3 ก้อน วางไว้เพื่อตั้งหม้อทำกับข้าว หรือทำเป็นเตาไฟ

สะออน

หมายถึงเป็นภาษาพูด (ควมเว้า) ของชาวอีสาน มีความหมายว่า ชอบใจ, พอใจ, ติดใจ, ปลื้ม, น่าชมเชย

ไตรจีวร

หมายถึงผ้า 3 ผืนของภิกษุ คือ อันตรวาสก (ผ้าสบง) อุตราสงค์ (ผ้าจีวร) สังฆาฏิ (ผ้าทาบ).

ไตรทวาร

หมายถึงทวารทั้ง 3 คือ กาย เรียก กายทวาร วาจา เรียก วจีทวาร ใจ เรียก มโนทวาร.

ไตรรงค์

หมายถึงธงชาติไทยซึ่งมี 3 สี คือสีขาว สีแดง สีน้ำเงิน เรียก ธงไตรรงค์.

ไตรสิกขา

หมายถึงสิกขา 3 คือ ศีล เรียก สีลสิกขา ษมาธิ เรียก จิตสิกขา ปัญญา เรียก ปัญญาสิกขา.

กฎหมาย

หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์

ไตรปิฎก

หมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า มี 3 ปิฎก คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก.

ข้อหล้อ

หมายถึงสั้นนิดเดียว เรียก สั้นข้อหล้อ อย่างว่า สั้นข้อหล้อมือยื้อบ่เถิง สูงเจวเววชั่วสามวาฮิ้น (ภาษา).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ