ค้นเจอ 58 รายการ

ญัตติกรรม

หมายถึงได้แก่การทำอุโบสถ ทำปวารณา การทำอุโบสถและปวารณาจะต้องตั้งญัตติคือเผดียงให้สงฆ์ทราบว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ วันนี้เป็นวันปวารณา ถ้าสงฆ์พร้อมเพรียงกันก็ลงมือทำอุโบสถ ทำปวารณาได้ นี่เรียก ญัตติกรรม.

ทัวระกรรม

หมายถึงการทำให้ได้รับความลำบาก เช่น ถูกฆ่าตีบีท์โบยเกือบจะเอาชีวิตไว้ไม่รอด เรียก ทัวระกรรม.

บริกรรม

หมายถึงสวด ท่องบ่น เสกเป่า ตกแต่ง กำหนดใจ นวดฟั้น ฉาบทา เช่น สวดคาถาท่องบ่นมนต์ เป็นต้น.

ภัณฑูกรรม

หมายถึงการปลงผม (ป. ภณฺฑุกมฺม).

มหกรรม

หมายถึงการฉลอง การบูชา.

เวชกรรม

หมายถึงการรักษาโรค.

หัตถกรรม

หมายถึงการทำในโรงงานอุตสาหกรรม.

อนิจกรรม

หมายถึงความตาย พระยาพานทองตายใช้ว่า ถึงอนิจกรรม.

อโหสิกรรม

หมายถึงกรรมที่เลิกให้ผล การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน เรียกเพียงคำว่า อโหสิ ก็มี (ป.).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ