ค้นเจอ 158 รายการ

กฎ (ระเบียบ)

หมายถึงประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน.

ลอยเฮือไฟ

หมายถึงเรือที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือท่อนกล้วย ทำรูปคล้ายเรือ ภายในเรือมีข้าวต้ม ขนม ฝ้ายไนไหมหลอด จุดกะไต้แล้วปล่อยไปตามแม่น้ำในวันออกพรรษาของทุกปีเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำนัมมานที เรือที่ทำนี้เรียก เฮือไฟ การปล่อยเรือเรียก ปล่อยเฮือไฟ ไหลเฮือไฟ ก็ว่า.

ก๊งโก๋ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งค่อม และมักจะมีคำสร้อยต่อว่า ก๊งโก๋ะก๊งโก้ย ก๊มโก๋ะ ก็เรียก

กุศลกรรมบถ

หมายถึงทางที่เป็นบุญ ทางที่เป็นกุศลมี ๑๐ อย่างเรียก กุศลกรรมบถ คือ กายสุจริต ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม วจีสุจริต ได้แก่ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบไม่พูดเพ้อเจอ มโนสุจริต ได้แก่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง.

เท้าสาร

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายหวายแข็ง ใช้ทำเป้นแส้ถือได้ เรียก ไม้เท้าสาร.

กะติกกะต่อน

หมายถึงกระท่อนกระแท่น เช่น การทำงานไม่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน เรียก กะติกกะต่อน กะติดกะต่อ ก็ว่า.

เอี่ยนด่อน

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกค่อนข้างขาว ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นเอี่ยนด่อน.

กดทรง

หมายถึงวางมาด, ขี้เต๊ะ ,เก๊กหล่อ ทำท่าปั้นปึ่งขึงขังแสดงตนว่ามั่งมีศรีสุข อย่างว่า เพิ่นกะกดทรงโก้คือโตใหญ่ ตั้งทีแท้เข้าชิจี่เกลือจ้ำฮองท้องแม่นบ่มี (บ.).

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

กรรมการ

หมายถึงบุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการทำงานของรัฐ ของเอกชน ขององค์การ ของบริษัท ห้าง ร้าน หรือการสาธารณกุศลเรียก กรรมการ.

กรมธรรม์

หมายถึงเอกสารกู้หนี้ยืมสิ้น, สัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์, เอกสารในการประกันภัย เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นต้น

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ