ค้นเจอ 164 รายการ

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

เมือง

หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ของคนเรียก เมืองคน เป็นที่อยู่ของเทวดาเรียก เมืองสวรรค์ เป็นที่อยู่ของพรหมเรียก เมืองพรหม เป็นที่ตั้งของรัฐบาลเรียก เมืองหลวง เมืองที่ขึ้นความปกครองเรียก เมืองขึ้น เมืองนอกจากเมืองเราเรียก เมืองนอก.

กฐิน

หมายถึงผ้าที่นำไปถอดถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบสามเดือนเรียกผ้ากฐินกฐินมี ๒ ชนิดคือ จุลกฐินและมหากฐิน กฐินที่ทำให้สำเร็จในวันเดียวเริ่มแต่ปั่นด้าย ทอ เย็บ ย้อมเป็นต้นเรียกจุลกฐินกฐินแล่นก็เรียก กฐินที่ใช้เวลานานและจัดเตรียมบริขารบริวารถวายพระได้มากเรียกมหากฐิน.

ฮ้องไห้

หมายถึงร้องไห้ อย่างว่า ในเมื่อพราหมณ์ขึ้นต้นไม้ฮ้องไห้อยู่ในดง จ่มเสียดายถงจีใจ้ ฮ้องไห้กล่าวถามหา ยังพระเวสสันดรเจ้าดั่งนั้น (เวส).

กฎุมพี

หมายถึงคนมั่งมีเรียก กฎุมพี กฎมพีต ก็ว่า อย่างว่า ยังมีกฎมพีตเชื้อสถิตที่นครหลวง พาราญสีเมืองทีปชมพูภายพื้น (เสียว).

ไกลาส

หมายถึงชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์ เรียก เขาไกลาส ไกรลาส ก็ว่า. อีกความหมายหนึ่ง คือ ชื่อสีชนิดหนึ่ง ขาวเหมือนสีเงินยวง.

ไหว้พ่อแม่

หมายถึงทำพิธีไหว้พ่อแม่ พ่อแม่นั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ต่อลูกของตน พ่อแม่เป็นทั้งบูรพาจารย์ เป็นทั้งเทวดาและอาหุเนยยะปูชนียะของลูก.

กงหัน

หมายถึงระหัด พัดลม เครื่องวิดน้ำเข้านา เรียก กงพัด กงหัน ก็ว่า คนโบราณอีสานเมื่อต้องการน้ำในแม่น้ำขึ้นมาทำนาก็ใช้กงพัดหรือกงหัน ดึงเอาน้ำขึ้นมา เรียก หมากปิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื่อกงหันลมต้องปิ่นหันลิ่นลิ่นปานคนหมุน(กลอน).

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

ก้นล่ง

หมายถึงยุงก้นปล่อง ชื่อยุ่งชนิดหนึ่งกินเลือดคนและสัตว์ไม่รู้จักอิ่ม เลือดไหลออกทางก้น เรียก ยุงก้นล่ง ก้นโล่ง ก็ว่า.

งกงก

หมายถึงมีอาการสั่นเช่นคนเห็นเสือกลัวเสือจนตัวสั่นงกงก หรือหนาวมากจนตัวสั่นงกงก เรียก สั่นงกงก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ