ค้นเจอ 159 รายการ

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

ซ็อกง็อก

หมายถึงอาการของคนนั่งแบบซึมเศร้า, นั่งคอตก อาการที่งูตัวเล็กๆ ชูคอขึ้นเรียก คอซ็อกง็อก

กรรมวิบาก

หมายถึงผลของกรรมเรียกวิบาก ผลดีเกิดจากการทำดี ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี คนทำดีได้รับผลดี คนทำชั่วได้รับผลชั่ว ผลชั่วแม้แต่ผลชั่วก็ไม่ต้องการ ต้องการแต่ผลดี อย่างว่า ดีดีนี้ใผเห็นอยากเบิ่ง เทิงอยากเทิ้งเอาขึ้นขี่คอ (ภาษิต).

ไข่โล้

หมายถึงมดลูกของผู้หญิง ผู้หญิงบางคนเมื่ออายุมากมดลูกขนาดเท่าไข่เป็ดยื่นออกมา ไข่ที่ยื่นออกมานี้เรียก หมากไข่โล้.

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

หมก

หมายถึงห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง

กะดิกกะดิ้น

หมายถึงอาการแสดงความอยากได้หรือความในใจให้ปรากฏด้วยการเคลื่อนไหวไปมา เรียก กะดิกกะดิ้น เช่น ผู้สาวมักผู้บ่าวก็จะแสดงอาการกะดิกกะดิ้น.

เมือง

หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ของคนเรียก เมืองคน เป็นที่อยู่ของเทวดาเรียก เมืองสวรรค์ เป็นที่อยู่ของพรหมเรียก เมืองพรหม เป็นที่ตั้งของรัฐบาลเรียก เมืองหลวง เมืองที่ขึ้นความปกครองเรียก เมืองขึ้น เมืองนอกจากเมืองเราเรียก เมืองนอก.

กฎุมพี

หมายถึงคนมั่งมีเรียก กฎุมพี กฎมพีต ก็ว่า อย่างว่า ยังมีกฎมพีตเชื้อสถิตที่นครหลวง พาราญสีเมืองทีปชมพูภายพื้น (เสียว).

งุม

หมายถึง-ครอบไว้,ปิด ครอบ คว่ำ เช่น คว่ำถ้วย เรียก งุมถ้วย ปิดตาเรียก งุมตา อย่างว่า มือหนึ่งงุมของพี่ มือหนึ่งตี่ของโต (บ.). -งม งมปลาเรียก งุมปลา งมหอย เรียก งุมหอย งมกุ้งเรียก งุมกุ้ง งมก็ว่า. -ปิด บัง อย่างว่า ความมักมากุ้มกุ้มคือกะสุ่มงุมงอ ความมักมาพอพอคือกะทองุ้มฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกะบาท (ผญา).

แก่แด่

หมายถึงชี้ตรง, อาการอื่น ๆ ที่มีลักษณะแข็งและตรง โดยมักใช้ขยาย เพื่อบ่งบอกว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีขนาดเล็ก เก่เด่ (ใช้สำหรับสิ่งที่มีอาการคล้ายกัน) ก็เรียก

ไหว้พ่อแม่

หมายถึงทำพิธีไหว้พ่อแม่ พ่อแม่นั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ต่อลูกของตน พ่อแม่เป็นทั้งบูรพาจารย์ เป็นทั้งเทวดาและอาหุเนยยะปูชนียะของลูก.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ