ค้นเจอ 111 รายการ

ก่งโก๊ะ

หมายถึงอาการยืนหรือเดินทำหลังโก่งเรียกก่งโก๊ะ ก่งโก้ย ก็ว่า อย่างว่า เจ้าผู้จึ๊กจิ๊จื้น ขามะเฮ็งเก้ากิ่ว สังบ่โก๊ะก้มโก้ยคลายเล่นอยู่ขี้ดินพุ้นนอ (ผญา)

กก

หมายถึงต้นตระกูล ผู้เป็นต้นตระกูล เรียก กก, กอ หรือเหง้า ก็เรียก อย่างว่า กกกอเหง้าวงศ์สกุลโคตรย่า ให้บูชาอ่อนน้อมถนอมไว้อย่าลวน (บ.)

กระจะ

หมายถึงแจ่มแจ้ง, ชัดเจน, ขาวผ่อง ลายชัดเจนเรียก ลายกระจะ ขาวผ่องเรียก ขาวกระจะ อย่างว่า ขาวกระจะปานน้ำถ้วมเข้า ตั้งเช้าเง้าปานนมผู้สาว.(บ).

พ่อไฮ่

หมายถึงชายผู้ทำไร่ปลูกข้าว ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก เลี้ยงวัวควายเป็ดไก่ เรียก พ่อไฮ่ อย่างว่า เฮ็ดนาอย่าเสียไฮ่ เลี้ยงไก่อย่าเสียฮัง (ภาษิต).

เมืองเมือง

หมายถึงรุ่งเรือง สว่าง สุกใส อย่างว่า เมืองเมืองจอนใส่หูเฮืองม้าว (กาไก) เมืองเมืองเหลื้อมพระกายกองแจ้งสว่างขายี่ผู้ธรรม์เหง้าอ่อนชาย (ฮุ่ง).

หิ่งเมือง

หมายถึงเจ้าเมือง อย่างว่า ประกอบผู้เจ้ายี่ยินสงวน ปุนแควางหิ่งเมืองกินแล้ว เทพีฟ้าชวนเจืองเอาแพ่ง เจ็ดอู่แก้วธรรม์ต้นลูกแกว (ฮุ่ง).

จังไฮ

หมายถึงจังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์).

จตุโลกบาล

หมายถึงผู้รักษาโลกในสี่ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ รักษาโลกในทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก รักษาโลกทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกทางทิศตะวันตก ท้าวกุเวร รักษาโลกในทางทิศเหนือ (ป.).

จัตุโลกบาล

หมายถึงผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ จอมภูต อยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา อยู่ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค อยู่ทิศตะวันตก ท้าวกุเวร จอมยักษ์ อยู่ทิศเหนือ (ป.).

กรรมกรณ์

หมายถึงลงโทษ ได้แก่การลงโทษผู้ทำความผิด โดยการจำคุก ๑ ปรับไหม ๑ ทั้งจำคุกทั้งปรับ ๑ ประหารชีวิต ๑. อาญา, เครื่องสำหรับลงอาญา ได้แก่ตัวบทกฎหมายที่ลงโทษแก่บุคคลที่ทำความผิด โดยสมควรแก่โทษานุโทษ.

ไคว่ขีน

หมายถึงระเนระนาด ไม้ล้มทับกันระเนระนาด เรียก ไม้ล้มไขว่ขีน อย่างว่า จิกฮังล้มโคมกันขีนไคว่ กล้วยอ้อยล้มโคมฮั้วไฮ่สวน สาวฮามฮ้างโคมกันกับบ่าว ผู้สาวส่ำน้อยล้มโคมท้าวบ่าวเชียง (บ.).

ขื่อเมือง

หมายถึงโยธาทหารผู้แกร่งกล้าเป็นรั่วรักษาประเทศชาติ เรียก ขื่อเมือง อย่างว่า แล้วย่างย้ายเมือสู่ชองคำ พอดียนยนขุนขือเมืองมาเฝ้า ประดับแถวถ้องเสนานบนั่ง พระจิ่วแก้ข่าวให้ขุนฮู้เหตุฝัน (สังข์).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ