ค้นเจอ 573 รายการ

ขี้ถี่ (นก)

หมายถึงนกทึดทือ นกทึดทือเรียก นกขี้ถี่ นกชนิดนี้ร้องเสียงดังทึดทือทึดทึ้ง ก็ว่า อย่างว่า ใผชิหลิงเห็นใส้ตับไตนกขี้ถี่ มันหากฮ้องทึดทึ้งใจเลี้ยวใส่กระป ู(ผญา)

ขี้มะเฮ็ง

หมายถึงมะเร็ง มะเร็งคือโรคขี้มะเฮ็ง ขี้มะเฮ็งอาจแยกได้เป็น 2 ชนิด ชนิดที่เป็นแอ่งเหมือนเป็นแอ่งน้ำขนาดตื้น มีน้ำหนองไหล และขนิดที่เป็นเนื้อเน่า.

ขี้สีก

หมายถึงน้ำครำ แอ่งน้ำใต้ถุนเรือนตรงที่ตั้งโอ่งน้ำกินน้ำใช้ แอ่งน้ำนี้แหละเรียก น้ำขี้สีก น้ำขี้สีกนี้หมอยาโบราณถือว่าเป็นน้ำยาศักดิ์สิทธิ์ ถ้าคนป่วยเป็นไข้ออกหมึก ออกซาง ไข้หมากไม้ใหญ่ หมอจะไปเอาน้ำนี้มาฝนใส่ยา แก้ไข้ดีนักแล.

ไขข้อ

หมายถึงน้ำมันที่อยู่ตามข้อต่อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า สำหรับเป็นน้ำมันหล่อลื่นให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมา พับเข้าเหยียดออกได้ตามปกติ ไม่เกิดความขัดข้องเรียก น้ำมันไขข้อ.

ไข่แข้

หมายถึงชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง เรียก เครือไข่แข้ ชื่อขนมชนิดหนึ่งมีรูปร่างคล้ายไข่เหี้ย เรียก ขนมไข่แข้.

ไคว่เข

หมายถึงสับสน ไขว้เขว เช่น ไม้ล้มทับกัน เรียก ไม้ล้มไคว่เข.

จ้อย

หมายถึงมาตราชั่งน้ำหนักของฝิ่น จ้อยหนึ่ง น้ำหนักเท่ากับสองกิโลกรัม.

จั่ง

หมายถึงถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.

ไจ้

หมายถึงชื่อปีที่หนึ่งในจำนวนสิบสองปี คือ ปีไจ้=ปีชวด ปีเป้า=ปีฉลู ปียี่=ปีขาล ปีเหม้า=ปีเถาะ ปีสี่=ปีมะโรง ปีไส้=ปีมะเส็ง ปีชะง้า=ปีมะเมีย ปีมด=ปีมะแม ปีสัน=ปีวอก ปีเฮ้า=ปีระกา ปีเส็ด=ปีจอ ปีไค้=ปีกุน. คัด เลือก คัดสิ่งเสียออกจากสิ่งดีเรียก ไจ้ ไซ้ ก็ว่า.

แซบ

หมายถึงอร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ

ได้

หมายถึงได้มา ตกมา อย่างว่า ได้เมียสาวปานได้งัวซาวแม่ ได้เมียแก่ปานได้แม่ซาวคน (ภาษิต) ได้กินว่าดี ได้สี้ว่าม่วน ได้ยินย้อนผี ได้สี้ย้อนฝัน (ภาษิต). เป็นคำช่วยกริยาบอกอดีต เช่น ได้เฮ็ดได้ทำ ได้เว้า อนุญาต เช่น กินได้ นอนได้ ไปได้ สามารถ มีความสามารถ เช่น เว้าได้ อ่านได้ เขียนได้.

ตั๋วะ

หมายถึงโกหก พุดปด พุดเท็จ พูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ อย่างว่า อย่ามาตั๋วะให้หล้มตกหล่มดินทราย ตั๋วะให้กำดินทรายหว่านลงในน้ำ เฮ็ดให้เฮียมหลงหล้มตกตมทังหล่ม ตั๋วะให้คาดลาดล้มกลางบ้านมื่นชะเล (ผญา).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ