ค้นเจอ 155 รายการ

แฮกเสี่ยว

หมายถึงผูกมิตร การผูกมิตร เรียก แฮกเสี่ยว คำว่า เสี่ยว ได้แก่ มิตร สหาย เพื่อน หรือ เกลอ การผูกเสี่ยวจะทำเป็นพิธีเสียเหล้าไหไก่ตัวเพื่อเลี้ยงดูกัน หรือคนสองคนเมื่อสมัครรักใคร่กันแล้วผูกข้อต่อแขนด้วยด้ายเพียงสองเส้นก็ได้ ผู้หญิงจะเป็นเสี่ยวกับผู้ชาย หรือผู้ชายจะเป็นเสี่ยวกับผู้หญิงก็ได้ ขออย่างเดียวขอให้รักสมัครสมานประสานสามัคคีกันไปจนตลอดชีวิต การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีที่ชาวอีสานนับถือมาแต่ดึกดำบรรพ์ ผ๔้เป็นเจ้าของประเพณีนี้ก็คือบรรพบุรุษอีสาน ถือว่าท่านฉลาดและหลักแหลมนัก ถ้าโลกทั้งโลกเป็นมิตรสหายกัน เรื่องฆ่าตีบีฑ์โบยลักเล็กขโมยน้อย หรือเรื่องวิวาทบาดหมางแย่งอำนาจวาสนากันคงไม่เกิดขึ้นแน่ ถ้าคนในโลกนี้เกี่ยวข้องกันในการเป็นมิตรสหายกัน.

ไหมควบ

หมายถึงเส้นไหมที่ปั่นควบกันตั้งแต่สองเส้นขึ้นไป ใช้ทอเป็นผ้า เรียก ผ้าควบ ผ้าควบผ้าลัง ก็ว่า.

ไข่เหา

หมายถึงเหาเป็นโรคชนิดหนึ่ง เกิดอยู่ตามศรีษะของคนบ้าง สัตว์บ้าง กินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร เหานี้มีไข่ จึงเรียก หมากไข่เหา.

กดเพศ

หมายถึงไว้ท่า อวดทรง แสดงท่าทางว่ายังหนุ่มแน่น ไม่ทุกข์จนค่นแค้น อย่างว่า บ่าวก็กดเพศ ไว้ให้สาวดิ้นดั้นตาย (สังข์).

ข่า

หมายถึงคนใช้, คนรับใช้ คล้ายกับคำในภาษาไทยคำว่า ข้า, ขี้ข้า

กรองกรอย

หมายถึงหงอยเหงา, เศร้าหมอง, ไม่เบิกบาน, ไม่แช่มชื่น เช่น คนมีเรื่องทุกข์ใจนั่งจับเจ่าอยู่.

เคียว

หมายถึงแรด,ร่าน,ดอกทอง ,คนคึกคะนองเรียก คนเคียว อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่) หญิงดอกทอง เรียก คนหีเคียว อย่างว่า โต่บ่ช่างว่าไม้บ่เหนียว โตหีเคียวว่ากรรมก่อนกี้ (ภาษิต).

กรอก

หมายถึงเท เทยาเข้าปากเรียก กรอกยาเข้าปาก เช่น เมื่อคนป่วยกินยาน้ำด้วยตนเองไม่ได้ ใช้คนเทยาเข้าปาก เรียก กรอกยาเข้าปาก.

ก่นโต่น

หมายถึงล่อนจ้อน คนที่ไม่นุ่งเสื้อผ้า นุ่งชุดวันเกิด เรียก ก่นโต่น หรือ ก่นต่น

กงวัฏ

หมายถึงสิ่งหรือสถานที่มีลักษณะคล้ายกงจักร เพราะคลำหาต้นสายปลายเหตุไม่พบ เรียก กงวัฏ หรือสังสารวัฏ คือ เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุพระอรหัต

ก้นกบ

หมายถึงปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่างของคน เรียก ก้นกบ ก้นของกบก็เรียก ก้นกบ.

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ