ค้นเจอ 147 รายการ

ไข่เหา

หมายถึงเหาเป็นโรคชนิดหนึ่ง เกิดอยู่ตามศรีษะของคนบ้าง สัตว์บ้าง กินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร เหานี้มีไข่ จึงเรียก หมากไข่เหา.

ก่ง

หมายถึงทำให้โค้ง เช่น ก่งคันศร ก่งธนู ก่งหน้าไม้ โก่ง ก็ว่า อย่างว่า หน้าพ่อข้อยชื่อว่าคำแพง แสนคนขึ้นขาเดียวบ่ก่ง บาดว่าพ่อข้อยขึ้นขาซ้ายก่งมา (เสียว) ก่งเอ๋ยก่ง ก่งเสนงเขามั่งก่งได้กงนวย ก่งเอยก่ง ก่งเสนงเขาควาย มันโชดกล่อมแอวพรานอยู่โล้งโค้ง (กลอน).

ข่า

หมายถึงคนใช้, คนรับใช้ คล้ายกับคำในภาษาไทยคำว่า ข้า, ขี้ข้า

กรองกรอย

หมายถึงหงอยเหงา, เศร้าหมอง, ไม่เบิกบาน, ไม่แช่มชื่น เช่น คนมีเรื่องทุกข์ใจนั่งจับเจ่าอยู่.

เคียว

หมายถึงแรด,ร่าน,ดอกทอง ,คนคึกคะนองเรียก คนเคียว อย่างว่า เถ้าคันเคียวสามซาวว่าหนุ่ม (กาพย์ปู่) หญิงดอกทอง เรียก คนหีเคียว อย่างว่า โต่บ่ช่างว่าไม้บ่เหนียว โตหีเคียวว่ากรรมก่อนกี้ (ภาษิต).

เสี่ยว

หมายถึงเพื่อนรักเพื่อนแท้ที่เป็นเพื่อนกันโดยพิธีผูกเสี่ยว สหาย มิตร เพื่อน เกลอ คนที่มีรูปร่างหรือนิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียก เสี่ยว อย่างว่า โขโนเจ้าพรานสวงสองเสี่ยว (กาไก).

กรอก

หมายถึงเท เทยาเข้าปากเรียก กรอกยาเข้าปาก เช่น เมื่อคนป่วยกินยาน้ำด้วยตนเองไม่ได้ ใช้คนเทยาเข้าปาก เรียก กรอกยาเข้าปาก.

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

กรรณิการ์

หมายถึงชื่อไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งกลีบขาว ดอกหอม ใบคาย ก้านดอกสีแสด ใช้ย้อมผ้าก็ได้ ใช้ประดับก็ได้ เรียก กรรณิการ์ กรณิการ์ กณิการ์ ก็ว่า อย่างว่า กณิการ์เกียงดอกดวงดูล้น ภูชัยท้าวเดินเดียวชมดอก คือดั่งดอกกลิ่นแก้มเมียแก้วอยู่เฮือน (กา).

ก้นกบ

หมายถึงปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่างของคน เรียก ก้นกบ ก้นของกบก็เรียก ก้นกบ.

ไหว้บรรพบุรุษ

หมายถึงทำการไหว้บรรพบุรุษ บรรพบุรุษคือผู้เป็นต้นตระกูลของเรา คือ ทวด ปู่ย่าตายาย พ่อและแม่ การไหว้บรรพบุรุษคือไหว้สายเลือดของเรา เพราะท่านเหล่านี้เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เรา.

กฎธรรมชาติ

หมายถึงธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ