ค้นเจอ 86 รายการ

หัวซา

หมายถึงสนใจ,ใส่ใจ

บ่ลำเพอ

หมายถึงไม่เอาใจใส่

ตื่น

หมายถึง1.)ตกใจ 2.)ฟื้นจากหลับ เรียก ตื่น อย่างว่า ให้ตื่นแต่เดิก ให้เศิกแต่หนุ่ม ให้ตื่นเดิกคือกา ให้หากินคือไก่ ตื่นแต่เช้ากินข้าวกับปลา ตื่นสวยกินขวยขี้ไก่โป่ (ภาษิต).

กรรมเวร

หมายถึงการทำด้วยความพยาบาทปองร้าย โดยที่คู่กรรมนั้นได้หมายหมั้นปั้นใจจะตามล้างตามผลาญให้ได้.

กะดิกกะดิ้น

หมายถึงอาการแสดงความอยากได้หรือความในใจให้ปรากฏด้วยการเคลื่อนไหวไปมา เรียก กะดิกกะดิ้น เช่น ผู้สาวมักผู้บ่าวก็จะแสดงอาการกะดิกกะดิ้น.

กะตากกะตาก

หมายถึงเสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงไก่ร้องเวลาตกไข่หรือเวลาตกใจดัง กะตาก กะตาก กะต้ากกะต้าก ก็ว่า.

ขางเมือง

หมายถึงทหารที่ใจกล้าเหมือนเหล็กขาง สามารถรบราข้าศึกได้ชัยชนะ เรียก ทหารขาง ขางเมือง ก็ว่า อย่างว่า ตัวหนึ่งง้าวถนิมแก้วมณีโชติใสแพรว ลือเมือเถิงสวรรค์กล่าวขานขอซ้อง ภูธรท้าวหมายไปปุนชอบให้แก่อ้ายผ่องผู้ใจกล้ากว่าขาง (ฮุ่ง).

บริกรรม

หมายถึงสวด ท่องบ่น เสกเป่า ตกแต่ง กำหนดใจ นวดฟั้น ฉาบทา เช่น สวดคาถาท่องบ่นมนต์ เป็นต้น.

แม่เย้าแม่เฮือน

หมายถึงหญิงผู้ปกครองเรือนให้คนภายในเรือนอยู่เย็นเป็นสุข มีความสามัคคีพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เรียก แม่เย้าแม่เฮือน แม่ย้าว ก็ว่า.

ยินสะออน

หมายถึงซาบซึ้ง ตรึงใจ

อกุศลกรรมบถ

หมายถึงทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).

ฮ้องไห้

หมายถึงร้องไห้ อย่างว่า ในเมื่อพราหมณ์ขึ้นต้นไม้ฮ้องไห้อยู่ในดง จ่มเสียดายถงจีใจ้ ฮ้องไห้กล่าวถามหา ยังพระเวสสันดรเจ้าดั่งนั้น (เวส).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ