ค้นเจอ 406 รายการ

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

ไอยรา

หมายถึง1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์).

ฮนฮ้อง

หมายถึงร้องรน อย่างว่า ชะแลบนิ้วเกี้ยวกอดหาคอน คอนชะโลมพลอยถืกนมฮนฮ้อง บางยี่เที้ยนแสนแวนพ้นเพื่อน แฮงดั่นดิ้นตีนข้องท่าวหงาย (ฮุ่ง).

ฮ้องโห่

หมายถึงโห่ร้อง อย่างว่า จัดหมู่หน้ายอก่อนไหลหาญ ผายชะลือวอระนีเกี่ยวชูใสเข้า แมนหาญเข้าคุมคุมฮ้องโห่ เจ้ายี่เฆี่ยนหมู่ข้าฝูงกล้าดาดชน (ฮุ่ง).

ฮ้องฮ่ำ

หมายถึงร่ำร้อง อย่างว่า ฟังยินซุงพาทย์พร้อมปนปี่แถมแถ นางกะสิงประดับแกว่งแพนเฟือยฟ้อน เสียงฉันแก้วกินรีฮ้องฮ่ำ ประดับคาดฮ้อยเฮียงเส้นคาดคีง (สังข์) ฟังยินเค็งเค็งฟ้าเทิงหัวฮ้องฮ่ำ พุ้นเยอ แซวอั่นฝ้ายฝันชู้ฮุ่งจวน (ฮุ่ง).

ฮ้องเฮ่ง

หมายถึงร้องเสียงดัง อย่างว่า พอเมื่อฟืดฟืดฟ้าระดูด่วนคิมหันต์ มาแล้ว สาผลเนาอยู่นานในท้อง นับวันได้สิบเดือนพอขวบ ฟ้าเฮ่งฮ้องเดือนห้าฮว่านมา (ฮุ่ง).

ฮอดฮ้อย

หมายถึงถึงจำนวนร้อย เรียก ฮอดฮ้อย อย่างว่า เมื่อนั้นตนประเสริฐท้าวธรงเดชลือฤทธิ์ ทวนเชษฐาไต่ทางนำน้อง คอยเห็นซวงหลวงพ้นฮังฮามหลายหลาก ยาวฮอดฮ้อยประมาณเส้นเชือกงัว (สังข์).

ก่องจ่อง

หมายถึงกริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า.

กึ่ม

หมายถึงเป็นคำด่า เสียดสี ประมาณว่าโง่ ไม่เอาไหน

ขะหยอน

หมายถึงถึงว่า, มิน่าหล่ะ

ขีน

หมายถึงไม่ชอบหน้า, ไม่พอใจ, ไม่ชอบ ขืน, ฝืน อย่างว่า ว่าเล่าทำเปืองปุ้นสมคามคลาที่ ดั่งนั้น ลุลาภพร้อมใจป้าห่อนขีนเมื่อใด (ฮุ่ง). ขัด อย่างว่า เมื่อนั้นสองแม่ป้าโลมลูกเอาใจ ก็บ่ขีนกุมารมอบศรศิลป์แก้ว บาก็ยินดีแท้ธรงศรขัดดาบ สองแม่ป้าเฮียงข้างลูบเลิง (สังข์). ขัดขืน อย่างว่า นางก็โจมแจ่มเจ้าองค์อ่อนยอมใจ ก่อนเถิ้น อาบ่มีขีนขืฃัดซิค่อยเติมตามน้อย (สังข์).

ขี้พื้นปาก

หมายถึงลักษณะคล้ายกับว่าโดนนินทา เป็นขี้ปากของชาวบ้าน

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ