ค้นเจอ 134 รายการ

ไตรสิกขา

หมายถึงสิกขา 3 คือ ศีล เรียก สีลสิกขา ษมาธิ เรียก จิตสิกขา ปัญญา เรียก ปัญญาสิกขา.

สี่

หมายถึง(กริยา) การร่วมประเวณี การมีเพศสัมพันธ์ (นาม) จำนวนสามบวกหนึ่ง เรียก สี่ เรียกชื่อเดือนทางจันรคติว่า เดือน ๔ ตกในระหว่างเดือนมีนาคม.

เมืองเมือง

หมายถึงรุ่งเรือง สว่าง สุกใส อย่างว่า เมืองเมืองจอนใส่หูเฮืองม้าว (กาไก) เมืองเมืองเหลื้อมพระกายกองแจ้งสว่างขายี่ผู้ธรรม์เหง้าอ่อนชาย (ฮุ่ง).

เวียก

หมายถึงการงาน ธุระ หน้าที่ ภาระ กิจการที่ต้องทำทุกอย่าง

วิปัสสนากรรมฐาน

หมายถึงอุบายเรืองปัญญาเมื่อเจริญสมถกรรมฐานแล้ว กิเลส ๓ จะลดน้อยถอยลง แต่ก็ไม่หมดสิ้นไปจากใจ ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่ออีก คือ ยกขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฎิจจสมุปบาท ๑๒ ขึ้นมาพิจารณาอีก จนให้เห็นขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่าย วิราคะหายความกำหนัด วิมุตติความหลุดพ้น วิสุทธิความหมดจดกายและจิต ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือ พระนิพพาน กิเลส ๓ คือ ราคะ โทสะ และโมหะไม่เกิดอีก.

สมถกรรมฐาน

หมายถึงอุบายสงบใจ ใจที่มีราคะความกำหนัด โทสะความประทุษร้ายและโมหะความลุ่มหลง กิเลสสามตัวนี้ทำให้ใจวุ่นวาย ไม่สงบ ถ้าอยากให้สงบต้องเอาสมถกรรมฐานมาข่มไว้ การเจริญธรรมอย่างนี้เรียก เจริญสมถกรรมฐาน.

หิ่งเมือง

หมายถึงเจ้าเมือง อย่างว่า ประกอบผู้เจ้ายี่ยินสงวน ปุนแควางหิ่งเมืองกินแล้ว เทพีฟ้าชวนเจืองเอาแพ่ง เจ็ดอู่แก้วธรรม์ต้นลูกแกว (ฮุ่ง).

ไหว้ครู

หมายถึงทำพิธีไหว้ครูบาอาจารย์.

โอสถกรรม

หมายถึงการแพทย์แผนกใช้ยา การรักษาไข้ด้วยวิธีใช้ยา.

ไอศวร

หมายถึงพระอิศวร อย่างว่า จตุโลกไท้ท้าวใหญ่ยมภิบาล ก็ดี ธรณีนางเมขลาดวงสร้อย กับทังไอศวรสร้างภายภูมิพื้นต่ำ ก็ดี ขอให้มาพร่ำพร้อมคอยข้าเมื่อมัว แด่ถ้อน (สังข์).

ฮ้องฮว่าน

หมายถึงร้องดังกังวาล อย่างว่า ฟ้าฮ้องฮ่วนผู้ใดอยากม่วนให้ปะเมียมา ปะเมียมาแล้วสตางค์แดงบ่ให้แต่ง ชิให้เจ้าด้องแด้งนอนถ้าอยู่เฮือน (กลอน) พระบาทเจ้ามีอาจกลัวเกรงสน่อยนั้น ภูธรถอนแม่ธนูปุนเปลื้อง หลังหักค้นครางตายฮ้องฮ่วน มันเล่ายังพ่นฟ้งไฟไหม้ลวบลน (สังข์).

ฮ็องฮ็อง

หมายถึงสุกใส แวววาว แสงแวววาวสุกใสแต่ไม่ใหญ่โต เรียก ใสฮ็องฮ็องเหลื้อมฮ็องฮ็อง ม็องม็อง ก็ว่า เช่น แสงดาว เป็นต้น อย่างว่า ตัวหนึ่งท้าวกว่าเลี้ยงแต่น้อยเฮียกล่วงลมผัน ฮองฮองเฮืองแค่มคำงามล้วน ธรรม์ยำท้าวกลอยแลหลิงล่ำ นายกล่าวถ้วนถวายแล้วซู่ประการ (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ