ค้นเจอ 149 รายการ

กะติกกะต่อน

หมายถึงกระท่อนกระแท่น เช่น การทำงานไม่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน เรียก กะติกกะต่อน กะติดกะต่อ ก็ว่า.

ไท่

หมายถึงไถ้ ไท่โบราณมี 2 ชนิด คือ ไท่เงินและไท่เข้าสาร ไท่เงินเย็บด้วยผ้าไม่กว้างแต่ยาว สำหรับใส่เงินเหรียญ เงินฮาง เงินลาด เงินหมากค้อ เวลาไปค้าขายจะใส่ถุงคาดเอว ส่วนไท่ข้าวสารสำหรับใส่เข้าสารเวลาไปค้าขายทางไกล ใช้หาบหรือคอนไป.

ทรง

หมายถึงมีครรภ์เรียก ทรงคัพ อย่างว่า นางก็ทรงคัพได้หลายเดือนจวนประสูติ ก็บ่มีเหตุฮ้อนการฮ้ายเหยื่องใด (กลอน) มีธรรม เรียก ทรงธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นปรางคำคลุ้มทรงธรรมคนิงมาก เห็นฮุ่งยามยอดแก้วเทียวใช้ชาติพระองค์ (สังข์).

กฐินฮังโฮม

หมายถึงกฐินสามัคคีเรียก กฐินฮังโฮม กฐินชนิดนี้มีเจ้าภาพร่วมกันหลายคนจุดประสงค์ก็เพื่อจะรวบรวมเงินไปสร้าง กุฏิ วิหาร ศาลา การเปรียญ หรือสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นสาธารณะกุศล.

กะ

หมายถึง1. ก็ 2. กำหนด, หมาย, คะเน, ประมาณการทำที่ต้องกำหนดวัน เวลา และจำนวนให้เรียก กะ เช่นงานชิ้นนี้ต้องทำให้สำเร็จภายในเจ็ดวัน ในวันที่เจ็ดต้องให้ทำสำเร็จก่อนเที่ยง.

ย้อน

หมายถึง(สันธาน) เพราะ เหตุ อย่างว่า (กริยา) การขยับตัวขี้นและลงตามจังหวะดนตรี

ไก้

หมายถึงกระจง ชื่อสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง ที่เขามีหงอน เรียก ไก้ เขาของไก้รูปร่างคล้ายมะพริกสุก เขานี้ป้องกันภัยอันตรายได้ ไก้ตัวใดถ้าเขายังมีอยู่จะแคล้วคลาดจากศัตรูทั้งมวล อย่างว่า มอมเยืองไก้หนูซิงกระแตต่าย กะเล็นฮอกจ้อนเหนอ้มห่านหอน (สังข์).

ฮ่มเมือง

หมายถึงเจ้าเมืองที่ปกปักรักษาให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข เรียก ฮ่มเมือง อย่างว่า ฟังยินฮื่นฮื่นฟ้าปีใหม่ฮวายเสียง พุ้นเยอ ออระทึมบดฮ่มเมืองแสนท้าง ทุกเชียงย้องนางจอมเป็นยอด เฮืองเฮื่อช้างงาซ้องอยู่โฮง (ฮุ่ง).

ฮอด

หมายถึงถึง ไปถึง เรียก เดินฮอด ถึงเวลา ฮอดยาม ถึงดี เรียก ฮอดดี เดินไปถึง เรียก ดั้นฮอด คิดถึง เรียก คึดฮอด อย่างว่า คึดฮอดน้องนอนกรองน้ำตาหลั่ง คันแม่นพังจั่งส้างเพม้างตั้งแต่ดน (กลอน).

กระป่อม (ตาข่ายดักปลา)

หมายถึงลำเผือกหรือลำสะโน ไม้สองชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ตัดยาวขนาดคืบผูก เชือกห่างกันประมาณ 1 ศอก ขึงในเวลากางมอง เรียก ป่อมมอง

กฎหมาย

หมายถึงบทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์

ให้ค่อยทำ

หมายถึงทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ