ค้นเจอ 110 รายการ

กระจ้อน

หมายถึง-ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่ง ตัวเล็กคล้ายกระรอก หรือกระแต หน้าแหลม -เล็ก แกร็น เช่น ม้าตัวเล็กและผอม เรียก ม้ากระจ้อน ม้าบักจ้อน

แก่แด่

หมายถึงชี้ตรง, อาการอื่น ๆ ที่มีลักษณะแข็งและตรง โดยมักใช้ขยาย เพื่อบ่งบอกว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีขนาดเล็ก เก่เด่ (ใช้สำหรับสิ่งที่มีอาการคล้ายกัน) ก็เรียก

ค่ำม้อย ๆ

หมายถึงค่ำลงเรื่อย ๆ, ค่อย ๆ มืดลง ๆ

ไป

หมายถึงเคลื่อนไป เดินไป อย่างว่า ให้แต่งช้างม้ามิ่งพลแพน ญิงชายในนครขวางป่าวปุนไปพร้อม คนการใช้พอแสนคาดเครื่อง แผ้วแผ่นเท้าทางกว้างฮาบงาม (สังข์).

นวังคสัตถุศาสน์

หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยา กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัมภูตธรรม เวทัลละ (ป.).

ขี้หนู

หมายถึงชื่อพรรณไม้ขนาดกลางชนิดหนึ่ง ใบคล้ายใบมะเกลือ ผลเล็กและป้อมเหมือนขี้หนู เมื่อดิบมีรสฝาดเล็กน้อย, ชื่อพริกชนิดหนึ่ง เรียก พริกขี้หนู, และชื่อขนมชนิดหนึ่งเรียก ขนมขี้หนู.

เมิดคำสิเว้า

หมายถึงไม่มีอะไรจะพูด/พูดไม่ออก

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

ข้าวต้มแดก

หมายถึงเป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น

ก่ง (คิ้ว)

หมายถึงโค้ง คิ้วโค้ง เรียกคิ้วก่ง เช่น คิ้วก่งกวมตา อย่างว่า ออระม่อยหน้าคิ้วก่งคันศร ขนตางอนสิ่งนางเมืองฟ้า ทันตาแข้วขาวงามปานแว่น ฮูปอ้อนแอ้นนางฟ้าก็บ่ปาน (บ.)

ไอ่

หมายถึงชื่อมเหสีของท้าวผาแดง ในวรรณคดีอีสาน เรื่อง ผาแดงนางไอ่ อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าตนพ่อปิตา จิ่งได้หานามกรแก่นางนงน้อย ชื่อว่าสอยวอยหน้ากัลยานางไอ่ อันแต่ขงเขตใต้ลือน้อยว่างาม (ผาแดง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ