ค้นเจอ 125 รายการ

กรรมชรูป

หมายถึงรูปที่เกิดแต่กรรม คนหรือสัตว์ที่เกิดมา ร่างกายที่เป็นตัวตนของเรากรรมเป็นคนแต่ง เราแต่งเองไม่ได้ถึงพ่อแม่จะมีส่วนในการแต่งก็แต่งให้สวยงานไม่ได้ พ่อแม่จึงเป็นเสมือนเรือน ถ้าผู้มาเกิดคือเจ้าของเรือน สวยงามแล้วเรือนเกิดไม่เป็นปัญหา

กรรมคติ

หมายถึงทางดำเนินแห่งกรรม ทางดำเนินแห่งกรรมมี ๒ อย่าง คือ สุคติไปดี ทุคติไปชั่ว คนทำความดีตายแล้วไปสู่สุคติ คือไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คนทำความชั่วตายแล้วไปสู่ทุคติ คือไปเกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสูรกาย.

ซ็อกง็อก

หมายถึงอาการของคนนั่งแบบซึมเศร้า, นั่งคอตก อาการที่งูตัวเล็กๆ ชูคอขึ้นเรียก คอซ็อกง็อก

กรรมวิบาก

หมายถึงผลของกรรมเรียกวิบาก ผลดีเกิดจากการทำดี ผลไม่ดีเกิดจากการทำไม่ดี คนทำดีได้รับผลดี คนทำชั่วได้รับผลชั่ว ผลชั่วแม้แต่ผลชั่วก็ไม่ต้องการ ต้องการแต่ผลดี อย่างว่า ดีดีนี้ใผเห็นอยากเบิ่ง เทิงอยากเทิ้งเอาขึ้นขี่คอ (ภาษิต).

ไข่โล้

หมายถึงมดลูกของผู้หญิง ผู้หญิงบางคนเมื่ออายุมากมดลูกขนาดเท่าไข่เป็ดยื่นออกมา ไข่ที่ยื่นออกมานี้เรียก หมากไข่โล้.

ไตรวิชชา

หมายถึงวิชชา 3 คือ วิชชาระลึกชาติหนหลังได้ วิชชารู้ความเกิดตายของคนและสัตว์ และวิชชารู้ในการทำให้สิ้นกิเลส.

เมือง

หมายถึงโลกเป็นที่อยู่ของคนเรียก เมืองคน เป็นที่อยู่ของเทวดาเรียก เมืองสวรรค์ เป็นที่อยู่ของพรหมเรียก เมืองพรหม เป็นที่ตั้งของรัฐบาลเรียก เมืองหลวง เมืองที่ขึ้นความปกครองเรียก เมืองขึ้น เมืองนอกจากเมืองเราเรียก เมืองนอก.

กฎุมพี

หมายถึงคนมั่งมีเรียก กฎุมพี กฎมพีต ก็ว่า อย่างว่า ยังมีกฎมพีตเชื้อสถิตที่นครหลวง พาราญสีเมืองทีปชมพูภายพื้น (เสียว).

ข้าวต้มแดก

หมายถึงเป็นขนมหวาน คล้ายกับข้าวต้มมัด แต่ต่างกันตรงที่ข้าวต้มแดกจะใช้ข้าวเหนียวแช่น้ำค้างคืน ตำผสมกับกล้วยสุกบด แล้วห่อด้วยใบตอง คำว่า แดก ในภาษาอีสานจะหมายถึงการตำ, อัดให้แน่น, ยัดเข้าในภาชนะ เช่น ปลาแดก, ข้าวต้มแดก เป็นต้น

ไหว้วาน

หมายถึงขอร้องให้ช่วยงาน เรียก ไหว้วาน ประเพณีอีสาน เวลามีความจำเป็นจะไปไหว้วานญาติพี่น้องให้มาช่วยงาน เช่น ปลูกเฮือน ดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว หาบข้าว ตำข้าว และช่วยในงานการกุศลต่างๆ โดยไม่มีค่าจ้างตอบแทน มีการเลี้ยงข้าวปลาอาหารตามธรรมเนียม.

ไหว้พ่อแม่

หมายถึงทำพิธีไหว้พ่อแม่ พ่อแม่นั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญว่า เป็นคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ต่อลูกของตน พ่อแม่เป็นทั้งบูรพาจารย์ เป็นทั้งเทวดาและอาหุเนยยะปูชนียะของลูก.

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ