ค้นเจอ 84 รายการ

กรรมพันธุ

หมายถึงมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ เช่น พ่อแม่เป็นคนดีลูกที่เกิดมาก็พลอยดีไปด้วย อย่างว่า เชื้อหมากต้องบ่ห่อนหล่นไกลกก แนวผมดกบ่ห่อนเป็นหัวล้าน (กลอน).

กงหลา

หมายถึงกงไนสำหรับกรอด้าย กรอไหม เรียก กงหลา อย่างว่า เหล็กในบ่มีกงหลาแล้วชิกลายเป็นเหล็กส่วน มีผัวบ่มีลูกเต้าเขาชิเอิ้นแม่หมัน (ย่า).

ฮ่วม

หมายถึงร่วม สมสู่อยู่ร่วมกัน เรียก ฮ่วมกัน อย่างว่า นับแต่กุมภัณฑ์ได้จอมพระนางมาฮ่วม หลายขวบเข้าระดูได้แปดปีนั้นแล้ว สองกล่อมกลิ้งรัตนาสน์เฮียงฮส เสนหาฮักลวดลืมเมืองบ้าน (สังข์).

กรรมชา

หมายถึงผู้เกิดแต่กรรม คนที่สร้างกรรมดีไว้ เมื่อเกิดมาก็เกิดในพ่อแม่ที่ดี มีอวัยวะครบ ไม่ใบ้บ้าเสียจริต ผิดมนุษย์ มีสติปัญญาดี ถ้าสร้างกรรมไม่ดีก็เกิดมาในที่ตรงกันข้าม.

กรรมทายาท

หมายถึงผู้รับผลของกรรม กรรมมี ๒ คือ กรรมดี เรียก กุศลกรรม กรรมไม่ดี เรียก อกุศลกรรม เราสร้างกรรมดีเราก็ได้รับผลดี เราสร้างกรรมชั่วเราก็ได้รับผลชั่ว พ่อแม่พี่น้องรับแทนไม่ได้.

ฮ่ำไฮ

หมายถึงร่ำไร อย่างว่า คึดแม่ป้าปุนไห้ฮ่ำไฮ (สังข์) ชะบูหน้าท้าวฮ่ำไฮความเลยลวด เชิญสายสมรม่วนเมืองกินแล้ว ในถันถ้องฮามฮอยฮ้อยส่ำ ทุกที่แผ้วผิวพร้อมพ่องถอย (ฮุ่ง).

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

ขีน

หมายถึงไม่ชอบหน้า, ไม่พอใจ, ไม่ชอบ ขืน, ฝืน อย่างว่า ว่าเล่าทำเปืองปุ้นสมคามคลาที่ ดั่งนั้น ลุลาภพร้อมใจป้าห่อนขีนเมื่อใด (ฮุ่ง). ขัด อย่างว่า เมื่อนั้นสองแม่ป้าโลมลูกเอาใจ ก็บ่ขีนกุมารมอบศรศิลป์แก้ว บาก็ยินดีแท้ธรงศรขัดดาบ สองแม่ป้าเฮียงข้างลูบเลิง (สังข์). ขัดขืน อย่างว่า นางก็โจมแจ่มเจ้าองค์อ่อนยอมใจ ก่อนเถิ้น อาบ่มีขีนขืฃัดซิค่อยเติมตามน้อย (สังข์).

กก

หมายถึงกอด อุ้ม กอดหรืออุ้มไว้กับอกเรียก กก เช่นแม่กอดลูก บ่าวกอดสาว ไก่กกลูก อย่างว่า ยามเมื่อนอนในห้องศาลากวนแอ่ว พี่ก็กกกอดอุ้มเอาน้องเข้าบ่อนนอน (กา).

เสี่ยว

หมายถึงเพื่อนรักเพื่อนแท้ที่เป็นเพื่อนกันโดยพิธีผูกเสี่ยว สหาย มิตร เพื่อน เกลอ คนที่มีรูปร่างหรือนิสัยใจคอเหมือนกันหรือเกิดไล่เลี่ยกัน พ่อแม่ผูกให้เป็นมิตรกัน เรียก เสี่ยว อย่างว่า โขโนเจ้าพรานสวงสองเสี่ยว (กาไก).

กบิล

หมายถึง1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์).

ห้า

หมายถึงจำนวนสี่บวกหนึ่ง เรียก ห้า ชื่อเดือนทางจันทรคติ เรียก เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าผู้ผ่านเมืองประกัน ถือพลเถิงตูมวางแวดเวียงระวังล้อม ตีพลายไว้หัวแหลมห้าหมื่น ย้ายหมู่ตั้งฮิมแม่ทรายคำ (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ