ค้นเจอ 83 รายการ

แนม

หมายถึงมองตาม มองดู อย่างว่า บัดนี้กาละนับมื้อส้วยงัวควายบ่ได้ปล่อย เด็กน้อยเป็นผู้เลี้ยงคนเถ้านั่งแนม (กลอน) สังมาแนมตาสิ้งหลิงตาบ่พอหน่วย (กา) อันว่าฮมฮักเจ้าเจืองลุนล้านส่ำอมโนนาถไท้แนมน้องบ่วาง (ฮุ่ง).

กองอ้อกยอก

หมายถึงกองเต็มพื้น

ตลกบาตร

หมายถึงถุงบาตรมีสายโยง เรียก ตลกบาตร ถลกบาตร ถงบาตร ก็ว่า.

ไอศกรีม

หมายถึงของกินทำด้วยของหวาน กะทิหรือนม เป็นต้น ทำให้ข้นด้วยความเย็น (อ.).

ไตรสิกขา

หมายถึงสิกขา 3 คือ ศีล เรียก สีลสิกขา ษมาธิ เรียก จิตสิกขา ปัญญา เรียก ปัญญาสิกขา.

กง (ดื้อ)

หมายถึงดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.).

ไกว

หมายถึงแกว่ง อย่างว่า ฟังยินลมล่วงต้องไกวกิ่งสาขา พุ้นเยอ สุรภาเบยบ่ายสีแสงส้วย ยุติบั้นสุมณฑาทังไพร่ ไปชมสวนดอกไม้ยอไว้ที่ควร ก่อนแล้ว (สังข์) ดอกหนึ่งสาวบ่าวค้านสงสัยต้นบ่สูงพอไคแค่หน้า ดวงหนึ่งเมื่อลมไหวฮสฮ่วง ลุกทั่วดินแดนฟ้าท่วยไท้ถือวี (ฮุ่ง).

ไฮ่ (ตบ)

หมายถึงตบ ตี ตีฆ้อง เรียก ไฮ่ฆ้อง อย่างว่า ลมเป่งเปลื้องเฟือยข่าแคมภู สะพึนจันทร์ก่ายดอยดาวข้อน ยูงวอนก้องสันภูใกล้ฮุ่ง ค้อนไฮ่ฆ้องคนพร้อมแต่งครัว (ฮุ่ง) ช้างแกว่งฆ้องกะเิงห้าวไฮ่เสียง (กา) ค้อนไฮ่ฆ้องฮางป่าวตีเติน ฮมฮมยอผาลาแห่จอมเมือหน้า เสินเสินช้างพังพลายย้ายย่าง หลายส่ำข้าอวนเจ้าท่องทาง (ฮุ่ง).

ขี้ทักแท่

หมายถึงไส้เดือนตัวเล็กเรียก ขี้ทักแท่ ขี้ทักแท่เหมือนไส้เดือน แต่ตัวเล็กกว่า สีจ่อนข้างแดง ชอบอยู่ตามที่ชื้นตามขี้สีก ชอบกัดกินรากพลู

ไข

หมายถึง-มันข้นในร่างกายคนและสัตว์เรียก ไขมัน. -ชื่อขมิ้นชนิดหนึ่ง เรียก เข้าหมิ้นไข. -(ก.)บอก กล่าว การบอกกล่าวให้รู้ เรียก ไขข่าว อย่างว่า แสนสัตว์น้อมโดยคดีไขข่าว พระก็ทรงพากย์ถ้อยเสียงเอิ้นแอ่วหา (สังข์). -(ก.)เปิด การเปิดประตูเรียก ไขปักตู ไขทวาร ก็เรียก อย่างว่า นางก็คึดฮ่ำฮู้คำปากเค็มแข็ง นางจิ่งไขทวารเผยส่องแลเล็งหน้า เห็นกษัตริย์เจ้านงเยาว์ยังอ่อน ดูเพศหน้าเหมือนเชื้อลูกหลาน (สังข์).

ฮ้อง

หมายถึงร้อง เปล่งเสียงดัง เรียก ฮ้อง อย่างว่า ฟังยินโกนโดกฮ้องฮิ่มไฮ่กินไฮ พุ้นเยอ บาศรีเสด็จออกโฮงคนเฝ้า เจืองก็จงใจแก้วโฉมงามง้อมม่วน ผู้ที่เหง้ากระหายฮ้อนคู่ไฟ (ฮุ่ง).

สมบัติคูณเมือง

หมายถึงสมบัติที่ทำให้บ้านเมืองเจริญ เรียกสมบัติคูณเมือง มี ๑๔ อย่าง คือ หูเมือง ตาเมือง แก่นเมือง ประตูเมือง ฮากเมือง เหง้าเมือง ขื่อเมือง ฝาเมือง ขางเมือง เขตเมือง สติเมือง ใจเมือง คำเมือง เมฆเมือง (ประเพณี).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ