ค้นเจอ 102 รายการ

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

กลอย

หมายถึงชื่อไม้เถาชนิดหนึ่งจำพวกมัน มีหัวกินได้ หัวดิบมีพิษ คัน ต้องแช่น้ำให้จืดแล้วนึ่งให้สุก กินแทนข้าวได้

กระป่อม (ตักน้ำ)

หมายถึงภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ รูปยาวก้นแหลม ทาด้วยชันคล้ายก้นคุ ใช้เชือกหย่อนลงตักน้ำในบ่อลึก

ไข่เน่า

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบใหญ่ดอกสีเหลือง นำมาเคี่ยวเป็นยางเหนียว เรียก ต้นไข่เน่า ต้นยางมอก ก็ว่า.

กระดอม

หมายถึงชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง มีรสขม มี ๓ ชนิด คือ กระดอมต้น กระดอมเครือ กระดอมพุ่ม อย่างว่า ยินขมในหมากกระดอมแคมฮั้ว (ฮุ่ง).

ขี้เหน

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบมีกลิ่นเหม็น ผลเมื่อสุกสีช้ำมีรสหวาน รากใช้ทำยาได้ เรียก ต้นขี้เหน.

ขี้เหล็กป่า

หมายถึงชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เกิดในป่า เรียก ขี้เหล็กป่า ขนาดเท่าขี้เหล็กบ้านแต่ใบใหญ่กว่า ใช้ทำยาแก้ไข้ได้ดี.

กบ

หมายถึง1.)ชื่ออักษรที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ. 2.)สัตว์สี่เท้าตัวใหญ่กว่าเขียด อยู่ได้ในน้ำหรือบนบกก็ได้ เป็นสัตว์ประเภทครึ่งน้ำครึ่งบก เรียก กบ มีหลายชนิด อย่างว่าพี่นี้คนผู้ฮ้ายลี้อยู่คือกบ เห็นคนมาหลูบลิลูลงลี้(ผญา) . 3.)เครื่องมือช่างไม้ ทำด้วยเหล็กมีรางทำด้วยไม้ สำหรับใสไม้ให้เรียบ มีหลายชนิด เช่น กบสั้น กบยาว กบฮ่อง เป็นต้น.

ฮาก

หมายถึง1.)ราก อาเจียน อาหารที่กลืนลงไปแล้วอาเจียนออกมาทางปาก เรียก ฮาก เช่น ฮากเข้า ฮากน้ำ ฮากขี้เพี้ย ฮากขี้โพ่น. 2.)ส่วนของต้นไม้ที่หยั่งลงไปในพื้นดิน เพื่อดูดเอาอาหารมาเลี้ยงลำต้น เรียก ฮากไม้ คนที่เป็นดุจรากไม้ดูดเอาอาหารมาเลี้ยงประเทศชาติให้เจริญ เรียก ฮากคน.

กง (ดื้อ)

หมายถึงดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.).

กระป่อม (ตาข่ายดักปลา)

หมายถึงลำเผือกหรือลำสะโน ไม้สองชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ตัดยาวขนาดคืบผูก เชือกห่างกันประมาณ 1 ศอก ขึงในเวลากางมอง เรียก ป่อมมอง

ขี้หนอน

หมายถึงชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง ใบใช้กันหนอน รากใช้ทำยา เอาใบมาวางไว้ปากไห กันหนอนได้ดีนักแล เพราะใบนี้กันหนอนได้ คนโบราณจึงเรียก ใบขี้หนอน.

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ