ค้นเจอ 99 รายการ

ก่องจ่อง

หมายถึงกริยา การกระทำที่ดูแล้วไม่เข้าท่า หรือว่ายังไม่ชำนาญ อาการที่หลังของเด็กขด เรียก ขดก่องจ่อง ถ้าหลังผู้ใหญ่ว่า ขดโก่งโจ่ง ก่งจ่ง ก็ว่า.

กั้งโกบ

หมายถึงลักษณะอาการมือป้อง สายตามอง ยกมือข้างหนึ่งวางไว้เหนือคิ้ว เรียก กั้งโกบ เพื่อตั้งการมองดูข้างล่าง ไม่ให้แสงข้างบนมากระทบ.

กฐิน

หมายถึงผ้าที่นำไปถอดถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบสามเดือนเรียกผ้ากฐินกฐินมี ๒ ชนิดคือ จุลกฐินและมหากฐิน กฐินที่ทำให้สำเร็จในวันเดียวเริ่มแต่ปั่นด้าย ทอ เย็บ ย้อมเป็นต้นเรียกจุลกฐินกฐินแล่นก็เรียก กฐินที่ใช้เวลานานและจัดเตรียมบริขารบริวารถวายพระได้มากเรียกมหากฐิน.

ฮ้องไห้

หมายถึงร้องไห้ อย่างว่า ในเมื่อพราหมณ์ขึ้นต้นไม้ฮ้องไห้อยู่ในดง จ่มเสียดายถงจีใจ้ ฮ้องไห้กล่าวถามหา ยังพระเวสสันดรเจ้าดั่งนั้น (เวส).

ไกลาส

หมายถึงชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย เชื่อว่าเป็นที่สถิตของพระอิศวรในศาสนาพราหมณ์ เรียก เขาไกลาส ไกรลาส ก็ว่า. อีกความหมายหนึ่ง คือ ชื่อสีชนิดหนึ่ง ขาวเหมือนสีเงินยวง.

กรณียกิจ

หมายถึงกิจอันควรทำ, ธุระอันควรทำ, หน้าที่อันควรทำ. (ป.).

อนันตริยกรรม

หมายถึงกรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).

นิรโทษกรรม

หมายถึงการยกโทษให้ผู้ทำผิดไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย.

วันแถ

หมายถึงวันที่พระปลงผมเรียก วันแถ เดือนหนึ่งข้างแรมปลงวันแรม ๑๔ ค่ำ ข้างขึ้นปลงวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปัจจุบันปลงเดือนละครั้ง คือปลงในวันขึ้น ๑๔ ค่ำของทุกเดือน วันปลงผมเรียก วันแถ มื้อแถ ก็ว่า.

ฮ้องโห่

หมายถึงโห่ร้อง อย่างว่า จัดหมู่หน้ายอก่อนไหลหาญ ผายชะลือวอระนีเกี่ยวชูใสเข้า แมนหาญเข้าคุมคุมฮ้องโห่ เจ้ายี่เฆี่ยนหมู่ข้าฝูงกล้าดาดชน (ฮุ่ง).

กรรมปฏิสรณะ

หมายถึงมีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัยที่พึ่งแยกออกได้เป็น ๒ อย่าง คือตนและผู้อื่น พึ่งตนดีกว่าพึ่งผู้อื่น กรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราทำไว้จะเป็นที่พึ่งของเรา.

ฮ่มเมือง

หมายถึงเจ้าเมืองที่ปกปักรักษาให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข เรียก ฮ่มเมือง อย่างว่า ฟังยินฮื่นฮื่นฟ้าปีใหม่ฮวายเสียง พุ้นเยอ ออระทึมบดฮ่มเมืองแสนท้าง ทุกเชียงย้องนางจอมเป็นยอด เฮืองเฮื่อช้างงาซ้องอยู่โฮง (ฮุ่ง).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ