ค้นเจอ 79 รายการ

เมิดคำสิเว้า

หมายถึงไม่มีอะไรจะพูด/พูดไม่ออก

ให้ค่อยไป

หมายถึงการสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).

แส่ว

หมายถึง1. โฉบ เฉี่ยว เช่น ให้เจ้าเอายาวไว้คือกาคาบเอี่ยน อย่าได้เฮ็ดอ้อมป้อมคือฮุ้งแส่วหนู (ผญา) 2. เย็บ ปัก ถัก ร้อย เช่น ดูสะอาดล้ำหลิ้งแส่วไหมคำ แคงคานคุมเครื่องเหลืองสมเสื้อ ลำลำง้อมงามเฉลียวปุนแต่ง ฝูงนี้ลอนเลือกชั้นแฝงเนื้อพี่ไป ว่าเนอ (ฮุ่ง) คำที่ใกล้เคียง : แส่วหนี

ไต

หมายถึง1.)อวัยวะชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ขับของเสียออกมากับน้ำปัสสาวะ เรียก ไต อนึ่งเนื้อที่เป็นก้อนแข็งอยู่ในเนื้อเรียก เนื้อเป็นไต. 2.)ขัน ถาด ขันหรือถาดเรียก ไต ไตคำ ก็ว่า 3.)แผ่นดิน แผ่นดินเรียก แผ่นไต

ขื่อเมือง

หมายถึงโยธาทหารผู้แกร่งกล้าเป็นรั่วรักษาประเทศชาติ เรียก ขื่อเมือง อย่างว่า แล้วย่างย้ายเมือสู่ชองคำ พอดียนยนขุนขือเมืองมาเฝ้า ประดับแถวถ้องเสนานบนั่ง พระจิ่วแก้ข่าวให้ขุนฮู้เหตุฝัน (สังข์).

โพด

หมายถึงเลย เกิน กินเกินเรียก กินโพด นอนเกินเรียก นอนโพด พูดเกินเรียก เว้าโพด ทำอาหารใส่เกลือเกินเรียก โพดเกลือ ใส่ปลาร้าเกินเรียก โพดปลาแดก อย่างว่า เถ้าแถลงพ้นโพดความ (สังข์) ชื่อว่าผิดโพดพ้นนักขิ่นขอวอนไว้ก่อน ตางดูใจใช่อันดีฮ้าย ฟังกลอนอั้วอามคายขานขอบ เฮาพี่น้องทังค้ายคู่คน (ฮุ่ง).

ทรง

หมายถึงมีครรภ์เรียก ทรงคัพ อย่างว่า นางก็ทรงคัพได้หลายเดือนจวนประสูติ ก็บ่มีเหตุฮ้อนการฮ้ายเหยื่องใด (กลอน) มีธรรม เรียก ทรงธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นปรางคำคลุ้มทรงธรรมคนิงมาก เห็นฮุ่งยามยอดแก้วเทียวใช้ชาติพระองค์ (สังข์).

โต

หมายถึง(น.) รูป, ตน, ตนเอง, คำใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ (น.) ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า 5 ตัว ตะปู 3 ตัว เสื้อ 3 ตัว (น.) ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม

โล่ง

หมายถึงพูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).

ห้า

หมายถึงจำนวนสี่บวกหนึ่ง เรียก ห้า ชื่อเดือนทางจันทรคติ เรียก เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าผู้ผ่านเมืองประกัน ถือพลเถิงตูมวางแวดเวียงระวังล้อม ตีพลายไว้หัวแหลมห้าหมื่น ย้ายหมู่ตั้งฮิมแม่ทรายคำ (ฮุ่ง).

ออกกรรม

หมายถึงการที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.

ก้นแงน

หมายถึงก้นงอน ก้นที่งอนออกมาข้างหลัง เรียก ก้นแงน อย่างว่า ญิงใดก้นแอ้งแถ้งแงนก้นเบิดคืนหลัง ดังโขโมคือยักษ์ย่างแพนแงนก้น ญิงนั้นจนเถิงเถ้าใจเบาเคียดง่าย อย่าได้หมายอยู่ซ้อน เมือหน้าบ่ดี (คำสอน).

 ภาษาอีสาน จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ